การกำกับดูแลด้านสภาพภูมิอากาศ

โครงการสร้างกำกับดูแลด้านสภาพภูมิอากาศของบริษัทฯ มีหน้าที่ดูแลและกำหนดทิศทางการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสภาพภูมิอากาศ เช่น การกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และแนวทางการจัดการ เป็นต้น

คณะกรรมการให้ความสำคัญกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในเรื่องการกำกับดูแล และกลยุทธ์ โดยมีหารืออย่างสม่ำเสมอเรื่องกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้อง การประเมินพอร์ตโฟลิโอ การหาทางเลือกการลงทุน การกำกับดูแลและบริหารความเสี่ยง การประเมินผลการดำเนินงานตามพันธกิจและเป้าหมาย ตลอดจนมีการสื่อสารข้อมูล ความก้าวหน้า และผลกระทบให้แก่ผู้ถือหุ้นได้รับทราบ พร้อมทั้ง มีคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและพัฒนาความยั่งยืน ทำหน้าที่การกำกับดูแล และติดตามผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกลุ่ม Frasers Property และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ทำหน้าที่ติดตาม และจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ

ในปีพ.ศ. 2567 บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย ได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง ผ่านการบูรณาการคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและพัฒนาความยั่งยืน เข้ากับคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยคณะกรรมการดังกล่าวมีหน้ากำกับดูแลทุกสายงานและคณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยงองค์กร และการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมทั้งมีส่วนในการพิจารณาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและที่เกิดขึ้นจริง ผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน และการบริหารความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ

ความเสี่ยงและโอกาส

บริษัทฯ มีการประเมินและระบุประเด็นความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยครอบคลุมการดำเนินงานของบริษัทฯ ในช่วงเวลาต่างๆ ได้แก่ 2573 (ระยะสั้น) 2583 (ระยะกลาง) และ 2593 (ระยะยาว) นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้วิเคราะห์สถานการณ์ (Scenario analysis) และระบุความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งความเสี่ยงเชิงกายภาพ และความเสี่ยงเปลี่ยนผ่าน โดยพิจารณาจากข้อมูลและบริบททางธุรกิจ เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบที่อาจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อธุรกิจ

ความเสี่ยงเชิงกายภาพ

สถานการณ์ความเสี่ยงเชิงกายภาพที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน สามารถเป็นได้ทั้งความเสี่ยงจากเหตุการณ์ (เฉียบพลัน) และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงระยะยาวของสภาพภมิอากาศ (เรือ้รัง) ซึ่งบริษัทฯ สามารถระบุความเสี่ยงเชิงกายภาพได้ 9 ประเด็น และมี 7 ประเด็นที่ถูกนำไปวิเคราะห์สถานการณ์ และประเมินความเสี่ยงในระยะสั้น (พ.ศ. 2573) ระยะกลาง (พ.ศ. 2583) และระยะยาว (พ.ศ. 2593)

ฟ้าผ่า
พายุ Cyclone
น้ำท่วมในเมือง
น้ำท่วมจากแม่น้ำ
น้ำท่วมชายฝั่ง
อากาศร้อนจัด
ภัยแล้ง
ความเครียดน้ำ
การสูญเสียน้ำ

ความเสี่ยงเปลี่ยนผ่าน

ความเสี่ยงเปลี่ยนผ่านถือเป็นความท้าทายและความไม่แน่นอนที่ธุรกิจต้องเผชิญ เนื่องจากทิศทางของโลกเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจยั่งยืนและคาร์บอนต่ำมากขึ้น เมื่อพิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น นโยบายระดับชาติและสากล การคาดการข้อมูล IEA และแนวโน้มด้านความยั่งยืนของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ บริษัทฯ สามารถระบุและประเมินความเสี่ยงเปลี่ยนผ่านทั้ง 9 ประเด็น ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ นโยบายและกฎหมาย การตลาด เทคโนโลยี และชื่อเสียง

นโยบายและกฎหมาย

  • กฎระเบียบและการบังคับใช้ที่เข้มงวด
  • การเปิดเผยสภาพภูมิอากาศ
  • ภาษีคาร์บอนและราคาคาร์บอน

การตลาด

  • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค
  • ความยากในการได้รับเงินทุน
  • การเปลี่ยนแปลงความพร้อมของทรัพยากร

เทคโนโลยี

  • ต้นทุนการลดคาร์บอน
  • ความสามารถและความรู้ของพนักงาน

ชื่อเสียง

  • ทำลายภาพลักษณ์ขององค์กร

Task Force on Climate-Related Financial Disclosures

บริษัทฯ ได้นำกรอบการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (Task Force on Climate-related Financial Disclosures: TCFD) มาใช้ในการจัดการความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ พร้อมทั้งได้เริ่มเปิดเผยรายงาน TCFD ขององค์กร ในปี 2567 ตามกรอบการรายงานดังกล่าว

ติดต่อตัวแทนของเรา