การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

บริษัทฯ เสริมสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียผ่านช่องทางและกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการเพื่อสังคม การสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม งานอีเวนต์ออนไลน์และออฟไลน์ และการสื่อสารสาธารณะ โดยเน้นสร้างการมีส่วนร่วมที่มีความหมาย เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความสนใจ มุมมอง ความคาดหวัง ข้อเสนอแนะ และข้อกังวลของผู้มีส่วนได้เสีย

พนักงาน
ลูกค้าและผู้เช่า
นักลงทุนและผู้ถือหุ้น
คู่ค้าและผู้รับเหมา
เจ้าหนี้และสถาบัน
การเงิน
หน่วยงานกำกับดูแลและองค์กรที่ไม่ใช่
ภาครัฐ
สังคมและชุมชน
เจ้าของที่ดินและ
นายหน้า
สื่อ

ทั้งนี้ บริษัทฯ สามารถระบุและแบ่งกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียได้ทั้งหมด 9 กลุ่ม โดยผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญต่อบริษัทฯ 5 กลุ่มแรก ได้แก่ 1) พนักงาน 2) ลูกค้าและผู้เช่า 3) นักลงทุนและผู้ถือหุ้น 4) คู่ค้าและผู้รับเหมา และ 5) เจ้าหนี้และสถาบันการเงิน

หมายเหตุ: รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่กลยุทธ์และแนวปฏิบัติสำหรับการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

การประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

ในปี 2567 บริษัทฯ ดำเนินการประเมินประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืนตามมาตรฐาน GRI (the GRI Standards 2021) และหลักการทวิสารัตถภาพ (Double Materiality) ที่ประกอบด้วยการพิจารณาผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบจากบริษัทฯ (ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ Inside-Out Impacts) และผลกระทบต่อมูลค่าของธุรกิจที่เกิดจากประเด็นความเสี่ยงและโอกาส (ผลกระทบต่อองค์กร หรือ Outside-In Impacts) ซึ่งครอบคลุมความคาดหวังและข้อห่วงกังวลของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม รวมถึงแนวโน้มทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย และการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรม โดยในปี 2567 บริษัทฯ ได้ระบุประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืนทั้งหมด 14 ประเด็น ครอบคลุมมิติด้านสิ่งแวดล้อม มิติด้านสังคม และมิติด้านธรรมาภิบาล

หมายเหตุ: รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเสากลยุทธ์ด้านความยั่งยืนและประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ สามารถดูได้ที่รายงานความยั่งยืน 2567 บนเว็บไซต์บริษัทฯ

ติดต่อตัวแทนของเรา