ภาพรวมของธุรกิจ

บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) หรือที่รู้จักในชื่อเดิมว่าบริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน) ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในปี 2533 และในปี 2545 บริษัทได้เริ่มซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนาและบริหารจัดการโรงงานอุตสาหกรรมให้เช่า (Ready-Built Factory) และอาคารคลังสินค้าให้เช่า (Ready-Built Warehouse) ในบริเวณพื้นที่อุตสาหกรรมทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรม เหตุการณ์อุทกภัยใหญ่ในปี 2554 ส่งผลให้เกิดการโยกย้ายฐานการผลิตจากนิคมอุตสาหกรรมในภาคกลางซึ่งประสบปัญหาน้ำท่วมรุนแรงไปยังพื้นที่อื่น ทางบริษัทฯ จึงได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อรักษาอัตราการเช่าและฐานลูกค้า ประกอบกับทางกลุ่มเฟรเซอร์สได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จึงได้ริเริ่มการนำองค์ความรู้เรื่องการพัฒนาโรงงานและคลังสินค้าตามความต้องการเฉพาะของผู้เช่า (Built-to-Suit) เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งขันได้ในระยะยาว

ในปี 2562 บริษัทฯ ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อและชื่อย่อสัญลักษณ์การซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เป็น บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ “FPT” และเริ่มต้นดำเนินธุรกิจภายใต้แบรนด์อสังหาริมทรัพย์ระดับนานาชาติ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้” โดยบริษัทฯ จะเป็นหนึ่งในบริษัทย่อยของกลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศสิงคโปร์ โดยเป็นเจ้าของ ผู้พัฒนา และผู้บริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร ครอบคลุมกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 5 ประเภท ประกอบด้วย เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์และโรงแรม ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า และอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมในประเทศต่างๆ ได้แก่ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ยุโรป จีน และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้ทิศทางเชิงกลยุทธ์ของกลุ่ม ทางบริษัทฯ ได้เข้าทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือโกลเด้นแลนด์ ภายหลังการทำคำเสนอซื้อกิจการ บริษัทฯ ได้รับประโยชน์จากการขยายไปยังแพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ และอสังหาริมทรัพย์ประเภทโรงแรมที่มีคุณภาพ ถือเป็นแพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์ครบวงจรรายแรกในประเทศไทย

ในปี 2563 บริษัทฯ ได้ย้ายสำนักงานใหญ่มาที่อาคารมิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ พร้อมประกาศความสำเร็จในการปรับโครงสร้างองค์กร ควบรวมธุรกิจกับกลุ่มโกลเด้นแลนด์ ถือเป็นก้าวสำคัญขององค์กรในการก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับประเทศ ปัจจุบันการทำงานในทุกภาคส่วนได้หลอมรวมเข้าด้วยกันภายใต้กลยุทธ์ One Platform รวมถึงการหล่อหลอมวัฒนธรรมองค์กรให้สอดคล้องกับเจตจำนงของบริษัทฯ ที่มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ผสานแรงบันดาลใจ ภายใต้แนวคิด “Inspiring Experiences, Creating Places for Good” เพื่อกำหนดทิศทางและกระบวนการทำงานอย่างยั่งยืน มีความยืดหยุ่น พร้อมสร้างความแข็งแกร่งในการขับเคลื่อนธุรกิจด้วย Business Transformation ปรับรูปแบบการทำงานเพื่อตอบสนองพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไป

ทิศทางเชิงกลยุทธ์นับจากนี้ บริษัทฯ มุ่งเน้นการเสริมความแข็งแกร่ง เพื่อสร้างแพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์ที่ครบวงจร ผสานความเชี่ยวชาญในการพัฒนาและบริหารจัดการสินทรัพย์หลากหลายประเภทด้วยความเป็นหนึ่งเดียวกัน อันจะนำไปสู่รากฐานทางธุรกิจที่มั่นคงเพื่อสนับสนุนก้าวต่อไปของการเติบโตอย่างเข้มแข็ง พร้อมสร้างสมดุลของโครงสร้างรายได้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านผลประกอบการอย่างยั่งยืน ร่วมกับการลงทุนเชิงกลยุทธ์และการสร้างพันธมิตรด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีแห่งอนาคต เพื่อบูรณาการความสามารถในการแข่งขันทุกมิติ และสร้างสรรค์ความเป็นเลิศด้านการบริการที่เข้าถึงความต้องการของภาคอสังหาริมทรัพย์ยุคใหม่ ภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ดี โดยคำนึงถึงประโยชน์ของลูกค้า ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ

โดยภาพรวมการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทประกอบด้วยสายธุรกิจ 3 กลุ่ม ดังต่อไปนี้

  1. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย
  2. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชยกรรม
  3. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรม
โครงสร้างรายได้

ในรอบผลการดำเนินงานปี 2567 (ตุลาคม 2566 - กันยายน 2567) งบการเงินรวมของบริษัทฯ ครอบคลุมรายได้หลักจากการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย และการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรม รวมถึงรายได้จากการให้เช่าและการบริการจากอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรม และอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชยกรรม

งบการเงินรวม
2565 2566 2567
จำนวนเงิน % จำนวนเงิน % จำนวนเงิน %
รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย 11,420,442 69.86 11,003,711 65.46 9,173,559 62.98
รายได้จากการให้เช่าและบริการที่เกี่ยวข้อง 2,391,918 14.63 2,799,007 16.65 3,130,774 21.49
รายได้จากธุรกิจโรงแรม 329,162 2.01 566,902 3.37 430,155 2.95
รายได้ค่าบริหารจัดการ 711,744 4.35 714,652 4.25 729,312 5.01
รายได้จากการลงทุน 60,097 0.37 80,998 0.48 70,503 0.48
กำไรจากการไถ่ถอนหน่วยลงทุนของเงินลงทุนในบริษัทร่วม 381,080 2.33 - - - -
กำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทย่อย - - 482,291 2.87 - -
กำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุนในการร่วมค้า 179,267 1.23
กำไรจากการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน 869,117 5.32 1,028,776 6.12 720,398 4.95
รายได้อื่น 183,056 1.12 133,137 0.79 132,444 0.91
รวมรายได้ 16,346,616 100 16,809,474 100 14,566,412 100

บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจจัดสรรบ้านและที่ดิน พร้อมพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อจำหน่ายในหลากหลายรูปแบบ ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม ร่วมกับการพัฒนาสาธารณูปโภคต่างๆ ในโครงการให้ครอบคลุมทุกระดับราคา เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกัน โดยผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ มีแบรนด์ต่างๆ ดังนี้

ประเภทผลิตภัณฑ์ แบรนด์ ระดับราคา
บ้านเดี่ยว
60 ล้านบาทขึ้นไป
20 – 40 ล้านบาท
6 – 20 ล้านบาท
บ้านแฝด
4 - 7 ล้านบาท
ทาวน์โฮม 2 - 3 ชั้น
3 - 6 ล้านบาท
ทาวน์โฮม 2 ชั้น
2 - 4 ล้านบาท
คอนโดมิเนียม
3 - 5 ล้านบาท

โครงการปัจจุบัน ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 มีจำนวน 75 โครงการ โดยมีรายละเอียดแบ่งตามแบรนด์และประเภทที่อยู่อาศัย ดังนี้

โครงการ จำนวนโครงการ รายละเอียดโครงการ ยอดขาย รายได้ ยอดเหลือขาย
หน่วย มูลค่า (ล้านบาท) หน่วย มูลค่า (ล้านบาท) หน่วย มูลค่า (ล้านบาท) หน่วย มูลค่า (ล้านบาท)
โกลเด้น ทาวน์ 30 10,359 31,126 7,281 22,963 5,892 17,469 4,386 13,386
โกลเด้น ซิตี้ 1 167 718 261 1,369 153 643 10 54
ยอดรวม โครงการทาวน์โฮม 31 10,526 31,844 7,542 24,332 6,045 18,112 4,396 13,440
โกลเด้น นีโอ 11 2,792 14,326 1,604 7,879 1,792 8,427 979 5,769
นีโอ โฮม 6 913 4,985 264 1,414 354 1,843 547 3,082
ยอดรวม โครงการบ้านแฝด 17 3,705 19,311 1,868 9,293 2,146 10,270 1,526 8,851
เดอะ รอยัล เรสซิเดนท์ 1 31 3,343 49 3,053 3 203 28 3,140
เดอะ แกรนด์ & อัลพีน่า 7 607 15,218 168 5,308 399 8,233 204 6,849
แกรนดิโอ 13 2,349 27,746 897 10,503 1,094 12,063 1,233 15,368
เพรสทีจ 4 873 6,566 181 1,375 234 1,673 636 4,875
โกลเด้น วิลเลจ 1 99 464 78 377 77 364 21 96
ยอดรวม โครงการบ้านเดี่ยว 26 3,959 53,337 1,373 20,616 1,807 22,536 2,122 30,328
โคลส 1 111 443 22 81 0 0 89 362
ยอดรวม โครงการคอนโดมิเนียม 1 111 443 22 81 0 0 89 362
ยอดรวมทั้งหมด 75 18,301 104,935 10,805 54,322 9,998 50,918 8,133 52,981

แผนการดำเนินงานโครงการที่อยู่อาศัยของบริษัทฯ ในปี 2567

ในปี 2567 บริษัทฯ ดำเนินการเปิดโครงการใหม่ทั้งสิ้น 6 โครงการ มูลค่าโครงการรวมกว่า 9,442 ล้านบาท โดยแบ่งตามประเภทของโครงการที่อยู่อาศัยได้ดังนี้

โครงการบ้านเดี่ยว จำนวน 5 โครงการ

โครงการคอนโดมีเนียม จำนวน 1 โครงการ

รายละเอียดโครงการที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ในปี 2567

1. แกรนดิโอ แจ้งวัฒนะ-เมืองทองฯ

วันเปิดโครงการ : 25-26 พฤศจิกายน 2566

ประเภทที่อยู่อาศัย : บ้านเดี่ยว 2 ชั้น

จำนวนหน่วย : 140 ยูนิต

มูลค่าโครงการ : 2,223 ล้านบาท

2. เดอะ แกรนด์ แจ้งวัฒนะ-เมืองทองฯ

วันเปิดโครงการ : 2-3 มีนาคม 2567

ประเภทที่อยู่อาศัย : บ้านเดี่ยว 2 ชั้น

จำนวนหน่วย : 60 ยูนิต

มูลค่าโครงการ : 2,119 ล้านบาท

3. เดอะ แกรนด์ ปิ่นเกล้า-กาญจนาฯ

วันเปิดโครงการ : 25-26 พฤษภาคม 2567

ประเภทที่อยู่อาศัย : บ้านเดี่ยว 2 ชั้น

จำนวนหน่วย : 39 ยูนิต

มูลค่าโครงการ : 1,650 ล้านบาท

4. แกรนดิโอ เกษตร-นวมินทร์

วันเปิดโครงการ : 17-18 พฤษภาคม 2567

ประเภทที่อยู่อาศัย : บ้านเดี่ยว 2 ชั้น

จำนวนหน่วย : 117 ยูนิต

มูลค่าโครงการ : 2,100 ล้านบาท

5. นีโอ โฮม ระยอง

วันเปิดโครงการ : 8-9 มิถุนายน 2567

ประเภทที่อยู่อาศัย : บ้านเดี่ยวและบ้านแฝด 2 ชั้น

จำนวนหน่วย : 177 ยูนิต

มูลค่าโครงการ : 900 ล้านบาท

6. โคลส รัชดา7

วันเปิดโครงการ : 8-9 มิถุนายน 2567

ประเภทที่อยู่อาศัย : คอนโดมิเนียม 8 ชั้น

จำนวนหน่วย : 111 ยูนิต

มูลค่าโครงการ : 450 ล้านบาท

การตลาดและสภาวะการแข่งขัน

ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวม

สภาวะอุตสาหกรรมของตลาดที่อยู่อาศัยโดยรวม เมื่อพิจารณาจากตัวเลขจำนวนยูนิตที่อยู่อาศัยที่ขายได้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ลดลงจากเดิม 14,610 หน่วย เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือคิดเป็นร้อยละ 31 โดยมีรายละเอียดแบ่งตามประเภทที่อยู่อาศัย ดังนี้

ยอดขายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567

  • บ้านเดี่ยว: 4,486 หน่วย ลดลงร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า
  • บ้านแฝด: 2,591 หน่วย ลดลงร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า
  • ทาวน์โฮม: 7,585 หน่วย ลดลงร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า
  • คอนโดมิเนียม: 17,306 หน่วย ลดลงร้อยละ 36 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า

โดยสถิติจำนวนยูนิตที่อยู่อาศัยที่ขายได้รายหกเดือน ในช่วงปี 2566 ถึงช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 แบ่งตามประเภทที่อยู่อาศัย ดังที่แสดงในแผนภูมิต่อไปนี้

หากพิจารณาการเติบโตของจำนวนหน่วยที่อยู่อาศัยเปิดใหม่จะพบว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 มีที่อยู่อาศัยเปิดใหม่จำนวนทั้งสิ้น 7,363 หน่วย ลดลงร้อยละ 45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 มีที่อยู่อาศัยเปิดใหม่แบ่งตามประเภทที่อยู่อาศัย ดังนี้

หน่วยเปิดขายใหม่ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567

  • บ้านเดี่ยว: 867 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า
  • บ้านแฝด: 430 หน่วย ลดลงร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า
  • ทาวน์โฮม: 889 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า
  • คอนโดมิเนียม: 5,177 หน่วย ลดลงร้อยละ 53 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า

โดยสถิติจำนวนยูนิตที่อยู่อาศัยเปิดใหม่รายหกเดือน ในช่วงปี 2566 ถึงช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 แบ่งตามประเภทที่อยู่อาศัย ดังที่แสดงในแผนภูมิต่อไปนี้

หากเทียบสัดส่วนยูนิตที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 จะเห็นได้ว่าสัดส่วนการเปิดขายคอนโดมิเนียมครองอันดับสูงสุดในตลาดที่ 5,177 ยูนิต รองลงมาคือทาวน์โฮมที่ 889 ยูนิต ซึ่งมีจำนวนยูนิตใกล้เคียงกับบ้านเดี่ยวที่ 867 ยูนิตและลำดับสุดท้ายคือบ้านแฝดที่ 430 ยูนิต

กลยุทธ์ทางธุรกิจโดยรวม

จากสภาพตลาดที่อยู่อาศัยที่มีการแข่งขันสูงจากการที่มีผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในตลาดเป็นจำนวนมาก ประกอบกับพฤติกรรมและกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในปัจจุบันที่ใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจมากขึ้น บริษัทฯ จึงได้กำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจและการแข่งขันไว้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์

    ทางบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ด้วยดีไซน์ที่โดดเด่นพร้อมฟังก์ชันเพื่อการอยู่อาศัยที่ครบครัน ตอบโจทย์ความต้องการและไลฟ์สไตล์ของครอบครัวทุกรูปแบบ ทางบริษัทฯ นำเสนอสินค้าผ่านแบรนด์ที่หลากหลาย ครอบคลุมทุกระดับราคาและประเภทที่อยู่อาศัย ตั้งแต่บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ไปจนถึงทาวน์โฮม เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในทุกกลุ่ม นอกจากนี้ ในปี 2567 ทางบริษัทฯ ได้ขยายพอร์ตโฟลิโอด้วยการเปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมแห่งแรกภายใต้แบรนด์ ‘โคลส’ (Klos) ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการขยายฐานลูกค้าเข้าสู่เซกเมนต์ใหม่อย่างเต็มตัว

    เพื่อสนับสนุนการอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน บริษัทฯ ได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาผสานในกระบวนการออกแบบและก่อสร้าง โดยบริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการใช้พลังงานสะอาด จึงได้ทำการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger) และโซลาร์เซลล์ในโครงการต่างๆ โดยมีเป้าหมายที่จะติดตั้งโซลาร์เซลล์ในคลับเฮ้าส์และบ้านตัวอย่างใน 71 โครงการ ซึ่งจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้กว่า 1,470 กิโลวัตต์ เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ถึง 100,000 ต้นภายในปีหน้า

    ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดในยุคปัจจุบันไปพร้อมกับการส่งเสริมความยั่งยืน บริษัทฯ จะยังคงพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ไม่เพียงแต่มีคุณภาพสูงและดีไซน์ที่ตอบโจทย์การอยู่อาศัย แต่ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมที่อยู่อาศัยของไทย

  • กลยุทธ์ด้านทำเลที่ตั้ง

    บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการเลือกทำเลที่ตั้งโครงการ โดยทุกทำเลที่บริษัทฯ เลือกจะต้องตรงตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ ตั้งไว้และต้องตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้าในแต่ละระดับ โดยหลักเกณฑ์สำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้ง มีดังนี้

    1. Accessibility ทำเลที่เข้าถึงได้ง่าย สะดวกต่อการเดินทาง
    2. Community ทำเลในเมืองหรือใกล้แหล่งชุมชน แม้จะมีต้นทุนที่ดินสูง แต่มีความต้องการซื้อสูงด้วยเช่นเดียวกัน
    3. Near Facility ทำเลใกล้สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ตลาดและห้างสรรพสินค้า นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับทำเลตามแนวโน้มการขยายตัวของชุมชนและแผนการขยายเครือข่ายคมนาคมในอนาคต เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากราคาที่ดินมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น บริษัทฯ จึงมีการวางแผนการเลือกซื้อที่ดินที่เหมาะสมเพื่อรองรับการพัฒนาโครงการในอนาคต
    4. Visibility มองเห็นได้ง่าย เมื่อพัฒนาโครงการแล้วมีความโดดเด่นสะดุดตา

    โดยในปี 2567 ทางบริษัทฯ เน้นพัฒนาที่ดินศักยภาพเพื่อเสริมสัดส่วนสินค้าบ้านเดี่ยวในพอร์ตโฟลิโอ โดยในการพัฒนาโครงการในต่างจังหวัด บริษัทฯ จะเลือกที่ดินในจังหวัดที่มีการตอบรับดีเพื่อทำการขยายตลาด โดยเน้นเมืองอุตสาหกรรมที่เป็นศูนย์กลางในแต่ละภูมิภาค ซึ่งในปีนี้ ทางบริษัทฯ เลือกเปิดโครงการในพื้นที่จังหวัดระยอง เพื่อขยายตลาดในพื้นที่ภาคตะวันออก โซน EEC อีกทั้งยังตัดสินใจบุกตลาดคอนโดมิเนียมในเมืองเป็นแห่งแรก

  • กลยุทธ์ด้านราคา

    การตั้งราคาสินค้าของบริษัทฯ นั้น จะมีการสำรวจตลาดบริเวณทำเลเป้าหมาย ทั้งราคา โปรโมชั่น สินค้า สภาพโครงการ และอื่นๆ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดเป็นประจำและต่อเนื่อง เพื่อปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับการแข่งขันในตลาดอย่างสม่ำเสมอ โดยการตั้งราคาจะคำนึงถึงความคุ้มค่าของผู้บริโภค ทั้งในด้านต้นทุน ทำเล รูปแบบโครงการ และประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ

  • กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาด

    บริษัทฯ มีนโยบายในการทำการตลาดโดยใช้สื่อแบบผสมผสาน เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลโครงการได้โดยสะดวก ซึ่งครอบคลุมสื่อต่างๆ ดังนี้

    1. ป้ายโฆษณา (Billboard)
    2. สื่อวิทยุ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
    3. การโฆษณาผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ โดยการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน SMS ไปยังกลุ่มเป้าหมายในช่วงกิจกรรมต่างๆ
    4. การโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์ อาทิ เว็บไซต์ของบริษัทฯ Facebook Instagram Shopee ประมูลบ้านออนไลน์ เว็บไซต์อื่นๆ รวมถึง Application Home+
    5. การโฆษณาผ่านการบอกต่อของลูกค้า อาทิ กิจกรรม Member Gets Members เพื่อสนับสนุนลูกค้าเดิมให้แนะนำโครงการแก่บุคคลอื่นต่อไป

    บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับรูปแบบในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ที่มีเอกลักษณ์ ทันสมัย น่าติดตาม และง่ายต่อการเข้าถึง โดยในปี 2567 นี้ ทางบริษัทได้ออกแคมเปญ “บ้านเฟรเซอร์ส คิดมาครบ” ภายใต้แนวคิด Customer Centric ที่มุ่งเน้นความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก รวมถึงโปรโมชันที่คิดมาครบเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในทุกแง่มุม

  • กลยุทธ์ด้านการบริหารต้นทุนผลิตภัณฑ์

    บริษัทฯ ทำการบริหารจัดการงานก่อสร้างด้วยตนเอง โดยแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ เช่น งานฐานราก งานปูน งานติดตั้งชิ้นส่วน งานปูพื้นกระเบื้อง และงานหลังคา เป็นต้น และว่าจ้างผู้รับเหมาที่มีความชำนาญเฉพาะด้านเพื่อรับผิดชอบงานดังกล่าว โดยทางบริษัทฯ ควบคุมการก่อสร้างโดยการจัดส่งเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ อันได้แก่ วิศวกรและผู้ควบคุมงานก่อสร้าง (Foremen) เข้าไปตรวจสอบให้เป็นไปตามรูปแบบและมาตรฐานที่กำหนด ทั้งนี้ บริษัทฯ จะเป็นผู้จัดหาวัสดุก่อสร้างเอง ซึ่งทำให้สามารถบริหารต้นทุนการก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังจัดตั้งฝ่ายพัฒนาคุณภาพสินค้า (Quality Development) เพื่อพัฒนาวิธีการก่อสร้าง และหานวัตกรรมใหม่ๆ ในการก่อสร้าง เพื่อให้ได้คุณภาพที่ดียิ่งขึ้นด้วยระดับต้นทุนที่เหมาะสม

  • กลยุทธ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี

    บริษัทฯ มุ่งมั่นยกระดับประสบการณ์การอยู่อาศัยของลูกค้าผ่านการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ โดยล่าสุดได้เปิดตัวแอปพลิเคชัน “FTX” ที่รวมทุกบริการเกี่ยวกับบ้านไว้ในแอปเดียว ตั้งแต่การแจ้งซ่อม การรับสิทธิพิเศษ ไปจนถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ จากเครือ Frasers Property เพื่อความสะดวกสบายสูงสุดของผู้อยู่อาศัย ช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการและข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว สะท้อนถึงความตั้งใจในการสร้างสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยที่ทันสมัยและครบครัน

การจัดหาผลิตภัณฑ์หรือบริการ
  • ที่ดิน

    ที่ดินเพื่อใช้ในการพัฒนาโครงการ บริษัทฯ จะเลือกทั้งที่ดินในทำเลเดิมซึ่งมีฐานลูกค้าชัดเจนเพื่อทดแทนสินค้าในโครงการเดิมที่กำลังจะหมดไป รวมถึงที่ดินในทำเลใหม่ที่แตกต่างกัน เพื่อกระจายความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ โดยบริษัทฯ ให้ความสำคัญในการจัดหาที่ดินเพื่อนำมาพัฒนาโครงการเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นปัจจัยหลักในการแข่งขัน

    จากราคาที่ดินที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นผลให้ต้นทุนโครงการเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้พยายามจัดหาที่ดินในทำเลที่เหมาะสมกับราคา เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต แม้ที่ดินจะไม่อยู่ติดสถานีรถไฟฟ้าหรือทางด่วน แต่ยังสามารถเดินทางเข้าออกได้สะดวก อีกทั้งบริษัทฯ ยังมีนโยบายในการซื้อที่ดินผืนใหญ่ เพื่อพัฒนาหลายโครงการให้ครอบคลุมทุกระดับราคาสินค้าในทำเลเดียวกัน โดยในขั้นตอนการจัดหาที่ดินและพัฒนาโครงการ บริษัทฯ มีทีมวิจัยในการสำรวจสภาวะตลาดและการแข่งขัน รวมทั้งพฤติกรรมผู้บริโภค จากนั้นจะทำการประมวลผลการศึกษาเพื่อนำมากำหนดแนวคิด รูปแบบ ทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม และประเมินความเป็นไปได้ของโครงการ เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการบริหารพิจารณาอนุมัติ

    การจัดซื้อที่ดินของทางบริษัทฯ แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง คือ

    1. จากที่ดินที่นายหน้าขายที่ดินนำมาเสนอ หรือบริษัทฯ เป็นผู้กำหนดทำเลเพื่อให้นายหน้าดำเนินการสรรหา
    2. ติดต่อซื้อที่ดินโดยตรงกับเจ้าของที่ดิน โดยทีมงานของบริษัทฯ
    3. ลงประกาศโฆษณาแสดงความต้องการซื้อที่ดินในสื่อต่างๆ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ และอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
  • วัสดุก่อสร้าง

    บริษัทฯ ได้มีการเจรจาต่อรองกับผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างเพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพดีในราคาที่เหมาะสม ซึ่งบริษัทฯ จะเป็นผู้จัดซื้อวัสดุก่อสร้างเอง โดยวัสดุบางรายการมีการยืนยันราคาล่วงหน้าประมาณ 6 เดือนขึ้นไปกับผู้จำหน่ายวัสดุก่อสร้าง อีกทั้งการสั่งซื้อเป็นจำนวนมากส่งผลให้บริษัทฯ สามารถต่อรองราคาและเงื่อนไขกับผู้ขายและควบคุมต้นทุนค่าก่อสร้างได้ ทั้งนี้ ฝ่ายจัดซื้อจะทำหน้าที่ติดตามการเคลื่อนไหวของราคาวัสดุก่อสร้าง แล้วนำมาประเมินและคำนวณเป็นต้นทุนค่าก่อสร้าง ซึ่งโดยปกติราคาจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในกรอบที่ประเมินไว้ แต่ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงเกินกว่าที่ประมาณไว้ บริษัทฯ จะจัดหาวัสดุอื่นที่มีคุณภาพใกล้เคียงกันทดแทน

  • การพัฒนาโครงการ

    บริษัทฯ ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของการขายและพัฒนาโครงการ โดยฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด และฝ่ายพัฒนาธุรกิจ จะทำงานร่วมกันในการสำรวจตลาด การออกแบบ การตั้งราคา หลังจากบริษัทฯ ได้ทำการซื้อที่ดินแล้ว จะดำเนินการออกแบบด้านสถาปัตยกรรม ทั้งออกแบบเองและว่าจ้างบริษัทออกแบบ ในการออกแบบรูปแบบของโครงการ การออกแบบตัวบ้าน และการออกแบบภายในบ้าน จากนั้นจะว่าจ้างผู้รับเหมาเพื่อวางแผน/ดำเนินการก่อสร้างบ้าน และการตรวจสอบคุณภาพโดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

    สำหรับโครงการที่อยู่อาศัย บริษัทฯ ได้มีการออกแบบพัฒนาระบบสาธารณูปโภคที่เหมาะสมในทุกๆ โครงการ เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้วางระบบบำบัดนํ้าเสียสำหรับบ้านแต่ละหลังและระบบบำบัดนํ้าเสียส่วนกลาง รวมถึงจัดให้มีการตรวจสอบคุณภาพนํ้าทิ้งตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดก่อนที่จะระบายลงสู่ทางนํ้าสาธารณะต่อไป

    สำหรับโครงการที่ต้องจัดทำผลกระทบสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อเตรียมการดังกล่าว รวมถึงการขออนุญาตและขอความเห็นชอบในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก่อนเริ่มขออนุญาตก่อสร้างโครงการ และดำเนินมาตรการต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในรายงานฯ เพื่อลดผลกระทบจากงานก่อสร้างต่อชุมชนโดยรอบโครงการ

  • งานระหว่างการพัฒนา

    ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 บริษัทฯ มียอดบ้านที่ได้รับการจองแล้วและรอโอนใน 59 โครงการ จำนวนรวม 170 หน่วย คิดเป็นมูลค่าขายทั้งสิ้น 984 ล้านบาท

ภาพรวมการประกอบธุรกิจ

บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมแบบครบวงจร ปัจจุบันมีพื้นที่โรงงานและคลังสินค้าภายใต้การบริหารจัดการรวมทั้งสิ้นประมาณ 3.63 ล้านตารางเมตร บนทำเลที่ตั้งยุทธศาสตร์ ซึ่งโรงงานและคลังสินค้าของกลุ่มบริษัทมีทั้งแบบพร้อมใช้ (Ready-Built) และสร้างตามความต้องการของลูกค้า (Built-to-Suit) โดยตั้งเป้าที่จะเพิ่มการพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมและคลังสินค้าตามความต้องการเฉพาะของผู้เช่า (Built-to-Suit) ให้มากขึ้น ซึ่งโรงงานและคลังสินค้าของบริษัทฯ ตั้งอยู่ในทำเลนิคมอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม เขตอุตสาหกรรม เขตส่งเสริมอุตสาหกรรม และเขตอื่นๆ ที่มีศักยภาพในประเทศไทย รวมถึงในประเทศอินโดนิเซีย และประเทศเวียดนาม

โรงงานของบริษัทฯ และโรงงานที่อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัทฯ ตั้งอยู่ในนิคม/สวน/เขต/เขตส่งเสริมอุตสาหกรรม 18 ทำเล* ดังต่อไปนี้

ที่ตั้ง ประเทศ จังหวัด/เมือง จำนวนโรงงาน
สินทรัพย์ของบริษัท สินทรัพย์ภายใต้กองทรัสต์
นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน ไทย พระนครศรีอยุธยา - 15
นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ไทย พระนครศรีอยุธยา 1 43
สวนอุตสาหกรรมโรจนะ-อยุธยา ไทย พระนครศรีอยุธยา 2 70
นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ไทย ชลบุรี 9 105
นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ไทย ชลบุรี 30 -
นิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี ไทย ชลบุรี - 7
นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง ไทย ระยอง 6 38
นิคมอุตสาหกรรมบางปู ไทย สมุทรปราการ - 13
นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย ไทย สมุทรปราการ 22 6
เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมนวนคร ไทย ปทุมธานี - 24
นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง ไทย กรุงเทพมหานคร - 1
เขตอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี ไทย ปราจีนบุรี 1 5
สวนอุตสาหกรรมโรจนะ-ปราจีนบุรี ไทย ปราจีนบุรี 3 5
นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (3 แห่ง) ไทย ชลบุรี - 41
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ (บางพลี 2) ไทย สมุทรปราการ 2 -
สวนอุตสาหกรรมบินห์เดือง (Binh Duong Industrial Park) เวียดนาม บินห์เดือง 23 -

*หมายเหตุ
ไม่รวมพื้นที่รอการพัฒนา

และมีคลังสินค้าของบริษัทฯ และคลังสินค้าที่อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัทฯ ตั้งอยู่ในพื้นที่ 34 ทำเล* ดังต่อไปนี้

ที่ตั้ง ประเทศ จังหวัด/เมือง จำนวนคลัง
สินทรัพย์ของบริษัท สินทรัพย์ภายใต้กองทรัสต์
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ พาร์ค (บางนา) ไทย ฉะเชิงเทรา 26 83
บางนา 2 โลจิสติกส์ พาร์ค (บางนา 2) ไทย ฉะเชิงเทรา 4 -
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ (แหลมฉบัง 1) ไทย ชลบุรี - 21
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ พาร์ค (แหลมฉบัง 2) ไทย ชลบุรี 8 36
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ (แหลมฉบัง 3) ไทย ชลบุรี - 26
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ (วังน้อย 1) ไทย พระนครศรีอยุธยา 2 16
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ พาร์ค (วังน้อย 2) ไทย พระนครศรีอยุธยา 17 8
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ (อีสเทิร์นซีบอร์ด 1 บี) ไทย ระยอง 4 12
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ (อีสเทิร์นซีบอร์ด 1 เอ) ไทย ชลบุรี - 7
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ (อีสเทิร์นซีบอร์ด 2 เอ) ไทย ชลบุรี - 14
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ พาร์ค (อีสเทิร์นซีบอร์ด 3) ไทย ชลบุรี - 8
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ พาร์ค (ศรีราชา) ไทย ชลบุรี - 22
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ (บ่อวิน) ไทย ชลบุรี - 9
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ (พานทอง 1) ไทย ชลบุรี 6 9
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ (บางพลี 1-7) ไทย สมุทรปราการ 30 47
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ (โรจนะปราจีนบุรี) ไทย ปราจีนบุรี - 8
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ (โรจนะอยุธยา) ไทย พระนครศรีอยุธยา 1 3
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ (อมตะซิตี้ ชลบุรี) ไทย ชลบุรี - 7
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ พาร์ค (ขอนแก่น) ไทย ขอนแก่น 14 -
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ (อมตะซิตี้ ระยอง) ไทย ระยอง 11 -
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ (สมุทรสาคร) ไทย สมุทรสาคร 2 -
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ (ลำพูน) ไทย ลำพูน 9 -
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลาส ไมล์ ฮับ (ปู่เจ้าสมิงพราย) ไทย สมุทรปราการ 11 -
คลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิ (ห้องเย็น CTD)** ไทย พระนครศรีอยุธยา - 1
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ (โครงการทิพย์ 9) ไทย สมุทรปราการ - 9
คาราวัง (Karawang Warehouse) อินโดนิเซีย คาราวัง 45 -
มากัซซาร์ (Makassar Warehouse) อินโดนิเซีย มากัซซาร์ 1 -
บันจาร์มาซิน (Banjarmasin Warehouse) อินโดนิเซีย บันจาร์มาซิน 1 -

หมายเหตุ
* ไม่รวมพื้นที่รอการพัฒนา
** รายการขายและเช่ากลับ

ลักษณะผลิตภัณฑ์และบริการ

1) ธุรกิจโรงงานพร้อมเช่า (Ready-Built Factory)

บริษัทฯ เป็นผู้พัฒนาและบริหารโรงงานสำเร็จรูปพร้อมเช่าที่มีคุณภาพระดับสากล เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการที่เข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย โดยไม่ต้องการถือกรรมสิทธิ์ในโรงงาน เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินการ และลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น บริษัทฯ เลือกสร้างโรงงานในทำเลที่ตั้งที่มีศักยภาพ และพัฒนาโรงงานที่มีรูปแบบมาตรฐานเหมาะสมสำหรับผู้ประกอบการในหลากหลายอุตสาหกรรม นอกจากนี้ เนื่องจากกลุ่มผู้เช่าโรงงานของบริษัทฯ ประมาณร้อยละ 80 เป็นผู้ประกอบการชาวต่างชาติ บริษัทฯ จึงได้เน้นการให้บริการให้ความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเริ่มต้นประกอบการผลิตในประเทศไทย

บริษัทฯ เลือกทำเลที่ตั้งสำหรับการพัฒนาโรงงาน โดยพิจารณาจากความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน และการคาดการณ์ในอนาคต นอกจากนั้น ยังพิจารณาถึงเขตส่งเสริมการลงทุน ความสะดวกในการเดินทางไปยังท่าเรือ สนามบิน ระยะห่างจากกรุงเทพมหานคร ตลอดจนระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ได้มาตรฐานของทำเลที่ตั้งนั้น ๆ

บริษัทฯ มีการพัฒนาโรงงานทั้งในเขตประกอบการเสรี และเขตทั่วไปตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละทำเลที่ตั้ง ตัวอย่างเช่น ความต้องการโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ซึ่งอยู่ติดกับท่าเรือน้ำลึกที่สำคัญของประเทศไทย โดยส่วนใหญ่จะเป็นความต้องการของโรงงานในเขตประกอบการเสรี โรงงานของบริษัทฯ มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวพร้อมชั้นลอยเพื่อใช้เป็นสำนักงาน ซึ่งพัฒนาในบริเวณพื้นที่ดินที่มีรั้วกั้นเป็นสัดส่วน พร้อมด้วยป้อมยาม พื้นที่จอดรถ และพื้นที่สำหรับขนถ่ายสินค้า ทั้งนี้ โรงงานที่บริษัทฯ พัฒนาขึ้นเป็นแบบมาตรฐาน แต่สามารถดัดแปลงให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าได้ ขนาดของโรงงานมีตั้งแต่ 550 ถึง 12,000 ตารางเมตร โรงงานของบริษัทฯ ที่สร้างในระยะหลังมีขนาดเล็กลง เนื่องจากปัจจุบันแนวโน้มความต้องการโรงงานขนาดเล็กของลูกค้ามีสูงขึ้น นอกจากนี้พื้นโรงงานสามารถรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 1 ถึง 3 ตันต่อตารางเมตร ตัวอาคารพัฒนาโดยใช้โครงสร้างหลังคาเหล็ก ซึ่งไม่ต้องมีเสารองรับหลังคาโรงงาน ทำให้ได้พื้นที่ใช้สอยสูงสุด

ส่วนใหญ่สัญญาเช่าระหว่างลูกค้ากับบริษัทฯ มีอายุสัญญา 3 ปี โดยเปิดโอกาสให้ลูกค้ามีทางเลือกในการต่อสัญญาเช่าได้ นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังให้ทางเลือกแก่ลูกค้าในการเปลี่ยนไปเช่าโรงงานอื่นของบริษัทฯ ในทำเลที่ตั้งหรือขนาดที่แตกต่างไป ตลอดจนให้ทางเลือกแก่ลูกค้าในการซื้อโรงงาน

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้บริการสร้างโรงงานตามความต้องการเฉพาะของผู้เช่า (Built-to-Suit) ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นและเป็นผลดีต่อบริษัทในแง่การลงทุนกับผลตอบแทนระยะยาว เนื่องจากอายุสัญญาเช่าของโรงงานประเภทนี้จะยาวกว่าอายุสัญญาเช่าของโรงงานทั่วไปประมาณ 5-10 ปี

ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 และ ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 บริษัทมีโรงงานที่มีสัญญาเช่า และโรงงานว่างพร้อมให้เช่าดังนี้

ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ณ วันที่ 30 กันยายน 2567
จำนวนโรงงาน พื้นที่เช่า (ตรม.) จำนวนโรงงาน พื้นที่เช่า (ตรม.) จำนวนโรงงาน พื้นที่เช่า (ตรม.)
โรงงานที่มีสัญญาเช่า 65 180,519 68 189,031 79 236,500
โรงงานว่างพร้อมให้เช่า 43 114,633 29 74,560 20 59,340
รวม 108 295,152 97 263,591 99 295,840

อัตราการเช่าโรงงาน (Occupancy rate) ของบริษัทฯ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2567 อยู่ที่ร้อยละ 80 เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนกันยายน 2566 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 72 เนื่องจากความต้องการพื้นที่โรงงานในประเทศที่เพิ่มมากขึ้นจากสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมและเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และการย้ายฐานการผลิตจากประเทศจีน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของพื้นที่เช่ามาจากกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ กลุ่มลูกค้าอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าอุปโภคบริโภค และอุปกรณ์การแพทย์

อัตราการเช่าโรงงาน ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 และ ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 มีดังนี้

ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ณ วันที่ 30 กันยายน 2567
อัตราการเช่าโรงงาน (ร้อยละ) 61 72 80

ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 ลูกค้าที่เช่าโรงงานของบริษัทฯ เป็นผู้ผลิตจากประเทศต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมหลายประเภท ดังนี้

อุตสาหกรรม ร้อยละ ประเทศ/ภูมิภาค ร้อยละ
อิเล็กทรอนิกส์/ คอมพิวเตอร์ 18.5 อเมริกา 17.3
ยานยนต์ 18.2 จีน 12.4
แม่พิมพ์ เครื่องจักร และเหล็ก 14.9 สิงคโปร์ 11.6
เครื่องใช้ภายในที่อยู่อาศัยและออฟฟิศ 10.6 สวีเดน 9.9
สิ่งทอ 10.4 ญี่ปุ่น 8.8
ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ 6.5 เยอรมนี 7.9
บรรจุภัณฑ์ 5.9 ฮ่องกง 6.9
อาหารเครื่องดื่มและการเกษตร 4.1 อาร์เจนตินา 4.5
สินค้าอุปโภคบริโภค 3.1 ไต้หวัน 4.1
พลาสติก 2.1 เวียดนาม 3.8
อื่นๆ 5.7 อื่นๆ 12.8
รวม 100 รวม 100

หมายเหตุ : สัดส่วนข้างต้นคำนวณจากรายได้ค่าเช่าและค่าบริการ ณ วันที่ 30 กันยายน 2567

2) ธุรกิจคลังสินค้าพร้อมเช่า (Ready-Built Warehouse)

บริษัทฯ เป็นผู้พัฒนาและบริหารอาคารคลังสินค้าสำเร็จรูปที่มีคุณภาพระดับสากลเพื่อให้เช่า โดยมุ่งเน้นตอบสนองความต้องการของธุรกิจโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สำคัญในการกระจายสินค้า วัตถุดิบ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ สินค้าสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อื่นๆ สู่ภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการตลอดจนผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบโลจิสติกส์ ยานพาหนะและอุปกรณ์ต่างๆ จำนวนมาก บริษัทฯ จึงเล็งเห็นโอกาสในการพัฒนาคลังสินค้าที่มีคุณภาพเพื่อให้เช่าแทนที่ผู้ประกอบการจะลงทุนสร้างคลังสินค้าเพื่อเป็นเจ้าของเอง

คลังสินค้าของบริษัทฯ ตั้งอยู่ในทำเลยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เหมาะแก่การเป็นศูนย์กระจายสินค้าที่ดี โดยอาคารสามารถรองรับการจัดการคลังสินค้าสมัยใหม่ การออกแบบตัวอาคารจะคำนึงถึงระยะห่างของช่วงเสา การรับน้ำหนักของพื้นอาคาร ความสูงของอาคาร จำนวนประตูสำหรับขนถ่ายสินค้า และอุปกรณ์ช่วยปรับระดับพื้นให้มีความลาดชันที่เหมาะสมกับความสูงของรถขนสินค้า

สัญญาเช่าของบริษัทฯ ส่วนใหญ่มีอายุ 3 ปี โดยเปิดโอกาสให้ลูกค้าต่อสัญญาได้ ในขณะเดียวกันสัญญาเช่าที่มีอายุมากกว่า 3 ปีมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น จากลูกค้าที่เช่าคลังสินค้าที่มีรูปแบบเฉพาะ (Built-to-Suit) ซึ่งมีอายุสัญญาอยู่ที่ประมาณ 10 ปี และในอนาคตบริษัทฯ จะนำเสนอสินค้ารูปแบบเฉพาะนี้ให้มากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการลงทุนระยะยาวของบริษัทฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีบริการซื้อคลังสินค้าจากลูกค้าเพื่อให้เช่ากลับคืน (Sale and Leaseback) เป็นทางเลือกเพิ่มเติมให้กับลูกค้าอีกด้วย

อีกทั้งบริษัทฯ ยังได้พัฒนาคลังสินค้ารูปแบบใหม่ Built-to-Function ซึ่งเป็นคลังสินค้าพร้อมใช้งานที่มีการออกแบบให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่มีลักษณะเฉพาะ โดยในปี 2567 บริษัทฯ ได้ทำการส่งมอบคลังสินค้า Built-to-Function ในโครงการ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ บางพลี 4“ และโครงการ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลาส ไมล์ ฮับ (ปู่เจ้าสมิงพราย)” ที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์รูปแบบการใช้งานสำหรับลูกค้ากลุ่มผู้ให้บริการโลจิสติกส์โดยเฉพาะ

ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 และ ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 บริษัทฯ มีคลังสินค้าให้เช่าแก่ลูกค้า และคลังสินค้าว่างพร้อมให้เช่า ดังนี้

ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ณ วันที่ 30 กันยายน 2567
จำนวนคลังสินค้า พื้นที่เช่า(ตรม.) จำนวนคลังสินค้า พื้นที่เช่า(ตรม.) จำนวนคลังสินค้า พื้นที่เช่า(ตรม.)
คลังสินค้าที่มีสัญญาเช่า 143 825,613 160 909,034 163 942,265
คลังสินค้าว่างพร้อมให้เช่า 43 113,759 20 64,475 29 94,497
รวม 186 939,372 180 973,509 192 1,036,762

อัตราการเช่าคลังสินค้า (Occupancy rate) ของบริษัทฯ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2567 เท่ากับร้อยละ 91 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 เท่ากับร้อยละ 93 โดยกลุ่มลูกค้าหลักยังเป็นกลุ่มโลจิสติกส์ที่มีการขยายตัวของธุรกิจอย่างต่อเนื่องจากการเติบโตของธุรกิจออนไลน์ รวมถึงการย้ายฐานการผลิตเพื่อสร้างความยืดหยุ่นในระบบซัพพลายเชน ส่งผลให้ความต้องการเช่าพื้นที่ยังอยู่ในระดับสูง ทั้งในกลุ่มผู้ผลิตเครื่องใช้ภายในที่อยู่อาศัยและออฟฟิศ กลุ่มเทรดดิ้ง สินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มยานยนต์ โดยเฉพาะในเขตแหลมฉบัง บางพลี และวังน้อย

อัตราการเช่าคลังสินค้า ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 และ ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 มีดังนี้

ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ณ วันที่ 30 กันยายน 2567
อัตราการเช่าคลังสินค้า (ร้อยละ) 88 93 91

ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 ลูกค้าที่เช่าคลังสินค้าของบริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจากประเทศต่างๆ ในอุตสาหกรรมหลายประเภท ดังนี้

อุตสาหกรรม ร้อยละ ประเทศ/ภูมิภาค ร้อยละ
ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ 35.7 ไทย 40
พาณิชยกรรม และค้าปลีกค้าส่ง 19.8 ฝรั่งเศส 11.7
ยานยนต์ 11.6 ญี่ปุ่น 10.8
อีคอมเมิร์ซ 10.7 สิงคโปร์ 7.3
อาหาร เครื่องดื่มและการเกษตร 5.7 เยอรมัน 6.6
เครื่องใช้ภายในที่อยู่อาศัยและออฟฟิศ 5 ฮ่องกง 6.2
สินค้าอุปโภคบริโภค 4.6 จีน 4.1
เวชภัณฑ์ การสาธารณสุข และเวชสำอาง 4.5 อเมริกา 2.8
อื่น ๆ 2.4 อื่น ๆ 10.4
รวม 100 รวม 100

หมายเหตุ : สัดส่วนข้างต้นคำนวณจากรายได้ค่าเช่าและค่าบริการของบริษัทฯ ณ วันที่ 30 กันยายน 2567

3) ธุรกิจอาคารโรงงานและคลังสินค้าที่พัฒนาขึ้นตามความต้องการของลูกค้า (Built-to-Suit)

บริษัทฯ ได้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมที่มีการออกแบบตามความต้องการของลูกค้า (Built-to-Suit) โดยมุ่งมั่นที่จะตอบสนองความต้องการใช้งานที่แตกต่างกันให้กับผู้ประกอบการในแต่ละประเภทกลุ่มอุตสาหกรรม ทั้งยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานอาคารโรงงานหรือคลังสินค้าอย่างสูงสุด รวมถึงเป็นการลดต้นทุน และทำให้เกิดประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตและการจัดเก็บสินค้าแก่ผู้ประกอบการ โดยบริษัทฯ มีพื้นที่ในทำเลยุทธศาสตร์ที่จะสามารถรองรับการพัฒนาอาคารแบบ Built-to-Suit ทั้งในเขตนิคมอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม เขตอุตสาหกรรม เขตส่งเสริมอุตสาหกรรม และเขตอื่นๆ ที่มีศักยภาพในประเทศไทย ทั้งนี้ อาคารแบบ Built-to-Suit จะเป็นสัญญาเช่าระยะยาวโดยมีอายุสัญญาอยู่ระหว่าง 10-15 ปี ซึ่งจะส่งผลบวกกับอัตราการเช่า สามารถช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายการตลาดต่างๆ และทำให้บริษัทฯ มีรายได้ที่แน่นอนในระยะยาว

ในปีที่ผ่านมาโครงการ Built-to-Suit ได้รับความสนใจเป็นอย่างดี โดยบริษัทฯ ได้ส่งมอบอาคาร Built-to-Suit ทั้งสิ้น 2 อาคาร ได้แก่ อาคารในโครงการเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ (บางพลี 5) และอาคารในโครงการเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ (บางพลี 7) ซึ่งมีพื้นที่โดยรวมทั้ง 2 อาคารอยู่ที่ 20,000 ตารางเมตร อีกทั้งยังมีโครงการส่วนที่ยังอยู่ในแผนการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

4) ธุรกิจการลงทุนและการบริหารอสังหาริมทรัพย์

บริษัทฯ มีนโยบายลงทุนในกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของหน่วยลงทุนทั้งหมด เพื่อผลตอบแทนในรูปเงินปันผลสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์สำหรับทรัพย์สินของกองทรัสต์ FTREIT จึงทำให้บริษัทฯ มีรายได้ประจำจากค่าบริหารอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย

5) ธุรกิจการบริหารและจัดการกองทรัสต์

บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจบริหารและจัดการกองทรัสต์ FTREIT ผ่านบริษัทย่อยได้แก่ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล รีท แมนเนจเมนท์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ FIRM (ชื่อเดิมคือ บริษัท ไทคอน แมนเนจเม้นท์ จำกัด หรือ TMAN) ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 70 โดยเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2560 บริษัทฯ ได้มีการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ทั้ง 3 กอง ได้แก่ TFUND TLOGIS และ TGROWTH เข้าสู่กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไทคอน หรือ TREIT หรือปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรม เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ หรือ FTREIT นอกจากนี้ ในปี 2567 FTREIT ยังได้ซื้อทรัพย์จากบริษัทฯ อีก 30,812 ตารางเมตร ทำให้มูลค่าสินทรัพย์รวมสูงถึง 5.06 หมื่นล้านบาท ซึ่งในปัจจุบันเป็นกองทรัสต์อุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดย FIRM จะได้รับค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการกองทรัสต์เป็นรายได้ประจำทุกปี และจ่ายเป็นเงินปันผลกลับคืนมาให้กับบริษัทฯ

6) การบริการอื่นๆ

  • การดัดแปลงงานอาคารโรงงาน/คลังสินค้า

    บริษัทฯ มีทีมงานออกแบบ พัฒนา ตลอดจนรับบริหารโครงการ ทำให้บริษัทฯ สามารถให้ความช่วยเหลือลูกค้าในการออกแบบ และดัดแปลงอาคารโรงงาน/คลังสินค้า เพื่อให้มีความเหมาะสมกับความต้องการเฉพาะของลูกค้าได้

  • การจัดหาสาธารณูปโภค

    บริษัทฯ ให้ความช่วยเหลือในการจัดหาระบบสาธารณูปโภค รวมถึงให้คำแนะนำและให้บริการระบบสาธารณูปโภคที่ครอบคลุมและตอบโจทย์กับความต้องการของลูกค้า

  • การขออนุญาตกับหน่วยงานราชการ

    บริษัทฯ ให้ความช่วยเหลือลูกค้าในเรื่องการขอใบอนุญาตที่จำเป็นต่อการเริ่มดำเนินธุรกิจ เช่น ใบอนุญาตประกอบการ นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังมีบริการให้ความช่วยเหลือลูกค้าในการขอและต่อใบอนุญาตทำงานสำหรับพนักงานต่างด้าวของลูกค้าในราชอาณาจักร โดยบริการนี้ถือเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าต่างชาติแบบครบวงจร (One-Stop-Service)

  • บริการอื่น ๆ

    ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานในธุรกิจ และสายสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มคู่ค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม บริษัทฯ จึงสามารถให้บริการและความช่วยเหลือต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจตามความต้องการเฉพาะของลูกค้าได้ เช่น การแนะนำผู้จำหน่ายสินค้า และจัดหาบุคลากรที่สำคัญให้แก่ลูกค้า

สิทธิประโยชน์ของบริษัทฯ และผู้ประกอบการจากเขตส่งเสริมการลงทุน

หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์ตามนโยบายการส่งเสริมการลงทุน ประกอบด้วย 1) สิทธิประโยชน์พื้นฐาน โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ในด้านการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร ยกเว้นอากรของนำเข้าเพื่อวิจัยและพัฒนา ยกเว้นอากรวัตถุดิบผลิตเพื่อส่งออก และสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษี ซึ่งจะแบ่งตามประเภทกิจการ (Activity-based Incentive) รวมทั้งมีสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมด้านการพัฒนาเทคโนโลยี (Technology-based Incentives) ในกรณีเป็นกิจการที่มีการนำระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์มาใช้ หรือมีการใช้เครื่องจักรที่มีการเชื่อมโยงหรือสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรระบบอัตโนมัติในประเทศ โดยจะต้องยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2563 และ 2) สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการ (Merit-based Incentives) ประกอบด้วย สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค และสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม ซึ่งจะได้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากสิทธิประโยชน์พื้นฐาน


1. สิทธิประโยชน์จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสำหรับธุรกิจโรงงานให้เช่า

โครงการพัฒนาอาคารโรงงานอุตสาหกรรมให้เช่าบางส่วนซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง สวนอุตสาหกรรมโรจนะ-ปราจีนบุรี เขตอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย สวนอุตสาหกรรมโรจนะ-อยุธยา และนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โดยมีสิทธิประโยชน์สำหรับอาคารโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริม ดังนี้

  • ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำหนดเวลาดังต่อไปนี้:
    • 8 ปีสำหรับโครงการในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง สวนอุตสาหกรรมโรจนะ-ปราจีนบุรี และเขตอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี
    • 7 ปีสำหรับโครงการในนิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี สวนอุตสาหกรรมโรจนะ-อยุธยา และนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค
    • 3 ปีสำหรับโครงการในนิคมอุตสาหกรรมเอเซีย
  • โดยในกรณีที่กิจการมีการขาดทุนในระหว่างนั้น จะสามารถนำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลานั้นไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยมีกำหนดเวลาไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลานั้น
  • ได้รับยกเว้นภาษีจากเงินปันผล โดยไม่ต้องนำเงินปันผลจากกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น
  • ได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวซึ่งเป็นช่างฝีมือหรือช่างชำนาญการเข้ามาในราชอาณาจักรได้ตามจำนวนและระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยให้ทำงานเฉพาะตำแหน่งหน้าที่ตามที่กำหนดไว้
  • ได้รับอนุญาตให้นำหรือส่งเงินออกนอกราชอาณาจักรเป็นเงินตราต่างประเทศได้

2. สิทธิประโยชน์จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสำหรับธุรกิจคลังสินค้าให้เช่า

เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ (อมตะซิตี้ ระยอง) เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ พาร์ค (วังน้อย 2) เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ พาร์ค (อีสเทิร์นซีบอร์ด 3) เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ พาร์ค (ขอนแก่น) เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ พาร์ค (บางนา) และเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ (บางพลี 2) ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โดยมีสิทธิประโยชน์สำหรับเขตอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และอาคารคลังสินค้าที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมดังนี้

  • ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำหนดเวลาดังต่อไปนี้:
    • 8 ปี สำหรับคลังสินค้าในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ พาร์ค (วังน้อย 2) เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ พาร์ค (อีสเทิร์นซีบอร์ด 3) เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ พาร์ค (ขอนแก่น) และเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ พาร์ค (บางนา)
    • 3 ปี สำหรับคลังสินค้าในเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ (บางพลี 2)
  • โดยในกรณีที่ประกอบกิจการขาดทุนในระหว่างนั้น จะสามารถนำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลานั้นไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยมีกำหนดเวลาไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลานั้น
  • ได้รับยกเว้นภาษีจากเงินปันผล โดยไม่ต้องนำเงินปันผลจากกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น
  • ได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรตามที่คณะกรรมการอนุมัติ

3. สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)

จากการที่บริษัทฯ มีการประกอบธุรกิจการจัดสร้างโรงงานมาตรฐานในเขตนิคมอุตสาหกรรม ภายใต้การกำกับดูแลของ กนอ. ผู้ประกอบการจึงพึงได้รับสิทธิประโยชน์ในเขตอุตสาหกรรมจาก กนอ. ดังนี้

  • สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร (เขตประกอบการเสรี) ได้แก่ การได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมพิเศษอากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิต สำหรับเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต และได้รับการยกเว้นภาษีอากรขาออกสำหรับของส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
  • สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร ได้แก่ ผู้ประกอบการจะได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อประกอบกิจการ ได้รับอนุญาตให้นำคนต่างชาติซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและช่างฝีมือเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต พร้อมให้บริการขอวีซ่าและ work permit และสามารถส่งเงินออกนอกราชอาณาจักรเป็นเงินตราต่างประเทศได้ หากเงินจำนวนนั้นเป็นเงินทุนนำเข้าหรือเป็นเงินที่มีข้อผูกพันกับต่างประเทศ รวมทั้งสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (“BOI”) ในกรณีขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • สิทธิประโยชน์อื่น ๆ ได้แก่ การยื่นขอใบอนุญาตที่จำเป็นสำหรับการประกอบการทั้งหมดจาก กนอ. (โดยปกติต้องได้รับอนุมัติจากหลายหน่วยงานราชการ) เช่น ใบอนุญาตให้ใช้ที่ดินเพื่อประกอบกิจการ ใบอนุญาตปลูกสร้างและ ใบอนุญาตประกอบกิจการอุตสาหกรรม รวมไปถึงการได้รับบริการสำหรับผู้ลงทุนในเรื่องคำแนะนำคำปรึกษาเอกสารต่าง ๆ
การพัฒนานวัตกรรมธุรกิจ

ในฐานะผู้นำด้านอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมที่มากด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี บริษัทฯ นับว่าเป็นผู้พัฒนาที่โดดเด่นด้วยความสามารถในการส่งมอบโซลูชั่นที่ใช้ในโรงงานและคลังสินค้าที่สามารถรองรับความต้องการของลูกค้าในทุกตลาด ภายใต้แนวคิดการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ที่ดี และสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า (Customer-centric) เป็นสำคัญ บริษัทฯ ได้พัฒนาองค์ความรู้และรูปแบบการให้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และการทำงานด้วยระบบดิจิทัล ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญของแผนกลยุทธ์ระยะยาวขององค์กร ที่ผ่านมา บริษัทฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ อินเตอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของภาคอุตสาหกรรม จึงได้วางแผนลงทุนด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยยกระดับความสามารถด้านการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงพัฒนาบริการโซลูชั่นให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

บริษัทฯ เปิดตัวแพลตฟอร์มอัจฉริยะที่นำนวัตกรรมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หรือ PropTech มาใช้ในการบริหารโลจิสติกส์ พาร์คของบริษัทฯ เพื่อยกระดับมาตรฐานการจัดการตามแนวคิด Smart & Sustainable Logistics Park ทั้งด้านการรักษาความปลอดภัยและด้านสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยี AI ขับเคลื่อนอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยภายใต้นโยบายอุตสาหกรรม 4.0 ทั้งนี้ การคิดค้นแพลตฟอร์มเทคโนโลยีอัจฉริยะดังกล่าว บริษัทฯ ได้ใช้เทคโนโลยีคลาวด์ (Cloud) ในการสนับสนุนการทำงานระบบ AI ของแพลตฟอร์ม ที่ผสานเทคโนโลยีทันสมัยหลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน อาทิ Computer Vision, Geofencing, Drone Inspection และ Machine Learning เพื่อใช้ในการดูแลรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ รวมถึงการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม โดยแพลตฟอร์มเทคโนโลยีอัจฉริยะนี้สามารถตรวจวัดปริมาณการปล่อยก๊าซ วัดระดับการใช้พลังงาน และดัชนี้ชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่สอดคล้องกับความยั่งยืนตามมาตรฐานสากล เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ตลอดจนเป็นมิตรต่อทั้งชุมชนและสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันบริษัทฯ ได้ติดตั้งแพลตฟอร์มเทคโนโลยีอัจฉริยะในโครงการโลจิสติกส์ พาร์คที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการ โดยตั้งเป้าที่จะนำแพลตฟอร์มดังกล่าวมาใช้กับทุกโครงการในอนาคต เพื่อส่งมอบโซลูชั่นอัจฉริยะที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ลูกค้าตามมาตรฐานสากล ตลอดจนช่วยส่งเสริมความยั่งยืนในการดำเนินงานของภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ด้วยเทคโนโลยีควบคุมและตรวจวัดมลพิษที่มีประสิทธิภาพ

บริษัทใช้แอปพลิเคชัน FLEXFIX ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ผู้เช่าในด้านงานซ่อมบำรุง โดยแอปพลิเคชันนี้ได้มีการพัฒนาจากกระบวนการ Design Thinking จากหน่วยงานและฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแอปพลิเคชัน FLEXFIX จะช่วยลดกระบวนการในการทำงาน มีความแม่นยำ ตอบสนองผู้เช่าได้ทันท่วงที ลดความผิดพลาดจากการทำงาน รวมถึงมีส่วนในการส่งเสริมความยั่งยืนจากการลดการใช้กระดาษ เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า

การตลาดและสภาวะการแข่งขัน

1) ธุรกิจโรงงานพร้อมเช่า

ธุรกิจโรงงานสำเร็จรูปพร้อมเช่าถือเป็นธุรกิจที่สำคัญต่อผู้ประกอบการชาวต่างชาติที่เข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ซึ่งอาจเลือกเช่าโรงงานเพื่อลดต้นทุนในการดำเนินการ เพิ่มความรวดเร็วในการเริ่มการผลิต และลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโรงงานนั้นมีบริการที่สามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการได้แบบครบวงจร

ประเทศไทยถือว่าเป็นทำเลยุทธศาสตร์ที่เปรียบเสมือนศูนย์กลางในการเชื่อมต่อกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค CLMV อีกทั้งมีแรงงานที่มีทักษะ และมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ดี จึงช่วยดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนต่างประเทศให้เข้ามาใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีน และประเทศยุโรป รวมถึงนโยบายส่งเสริมการลงทุนต่างๆของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และโครงการระเบียงเศรษฐกิจภูมิภาคตะวันออก (EEC) ของรัฐบาลยังมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการขยายตัวของพื้นที่อุตสาหกรรม และความต้องการของผู้ประกอบการต่างประเทศในประเทศไทยและพื้นที่เขต EEC มากยิ่งขึ้น

การตลาดและสภาวะการแข่งขัน

ปัจจุบันผู้พัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมให้เช่าแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • ผู้พัฒนาโรงงานบนที่ดินอุตสาหกรรมที่ตนเองพัฒนาขึ้น ได้แก่ เจ้าของนิคมอุตสาหกรรม เช่น บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) บริษัท อมตะ ซัมมิท เรดดี้ บิลด์ จำกัด และ บริษัท ปิ่นทอง อินดัสเตรียล ปาร์ค จำกัด (มหาชน)
  • ผู้พัฒนาโรงงานบนที่ดินอุตสาหกรรมที่ซื้อหรือเช่าจากเจ้าของที่ดินอุตสาหกรรมในทำเลที่ตั้งที่หลากหลาย เช่น บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  • ผู้พัฒนาโรงงานรายย่อยอื่นๆ ในตลาด ซึ่งบริษัทฯ ไม่ถือว่าเป็นคู่แข่งขันโดยตรงเนื่องจากผู้เช่าส่วนใหญ่เป็นผู้เช่าขนาดเล็ก ที่มีความต้องการเช่าโรงงานด้วยต้นทุนที่ไม่สูงนัก

ถึงแม้ว่าการแข่งขันโดยรวมของธุรกิจโรงงานสำเร็จรูปพร้อมเช่านั้นค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ เป็นผู้พัฒนาโรงงานให้เช่าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีความได้เปรียบในด้านทำเลที่มีศักยภาพหลากหลาย รวมถึงมีบริการที่ครบวงจรให้กับผู้ประกอบการซึ่งเป็นลูกค้า ทั้งการให้ความช่วยเหลือในการติดต่อขอใบอนุญาตต่าง ๆ กับหน่วยงานราชการ และการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI

ลูกค้าเป้าหมายของบริษัทฯ สำหรับธุรกิจโรงงานสำเร็จรูปพร้อมเช่า คือ ผู้ผลิตชิ้นส่วนให้แก่ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงในการเลิกเช่าเมื่อหมดสัญญาค่อนข้างต่ำ เนื่องจากลูกค้ามีการลงทุนติดตั้งอุปกรณ์เครื่องจักร และสายการผลิตต่างๆ ให้เข้ากับโรงงาน ทำให้ยากต่อการโยกย้าย โดยลูกค้าส่วนมากมักจะต่อสัญญาเช่ากับบริษัทฯ เมื่อสัญญาหมดอายุ เว้นเสียแต่จะเลิกการผลิตหรือมีความต้องการที่จะขยายพื้นที่การเช่า ซึ่งบริษัทฯ มีขนาดโรงงานและพื้นที่ในการให้เช่าที่หลากหลาย สามารถเสนอทำเลและขนาดโรงงานอื่นๆ ตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้าได้

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีบริการรับสร้างโรงงานแบบ Built-to-Suit ซึ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะเป็นกลุ่มลูกค้าในอุตสาหกรรมขนาดกลางถึงใหญ่ และมีระยะเวลาสัญญาเช่าที่ค่อนข้างยาว ทำให้บริษัทฯ มีรายได้ที่แน่นอนในระยะยาว

ในปี 2567 ระดับความพึงพอใจของลูกค้ากลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ ประเภทโรงงานอยู่ที่้ร้อยละ 92 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 87 ในปี 2566

2) ธุรกิจคลังสินค้าพร้อมเช่า

ธุรกิจคลังสินค้าให้เช่าเป็นธุรกิจที่สำคัญในการสนับสนุนธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อการกระจายสินค้าของประเทศ โดยระบบการจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพจะเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการต่างประเทศเลือกใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าในระดับภูมิภาค และเกิดการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยในปัจจุบันคลังสินค้าให้เช่าจะกระจายอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ศูนย์กระจายสินค้าในจังหวัดสำคัญแต่ละภาคของประเทศ และในเขตท่าเรือแหลมฉบังและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

การตลาดและสภาวะการแข่งขัน

ผู้พัฒนาคลังสินค้าให้เช่าแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • ผู้พัฒนาคลังสินค้าที่มีคุณภาพเพื่อขายและเช่า ได้แก่ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน)
  • ผู้พัฒนาคลังสินค้ารายย่อยอื่นๆ ซึ่งบริษัทฯ ไม่ถือว่าเป็นคู่แข่งขันโดยตรงเนื่องจากผู้เช่าส่วนใหญ่เป็นผู้เช่าขนาดเล็กที่มีความต้องการเช่าด้วยต้นทุนที่ไม่สูงนัก และรูปแบบโครงสร้างของอาคารอาจไม่ได้มาตรฐานการรับน้ำหนักระดับสากล

สำหรับสภาวะการแข่งขันกับคู่แข่งโดยตรง บริษัทฯ มีความได้เปรียบจากทำเลที่ตั้งที่หลากหลายและมีศักยภาพ อีกทั้งยังมีที่ดินสำรองที่พร้อมสำหรับการพัฒนา ซึ่งสามารถนำมาต่อยอดสำหรับลูกค้ากลุ่ม Built-to-Suit ได้

โดยกลุ่มลูกค้าหลักของบริษัทฯ ได้แก่

  • ผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งและบริหารคลังสินค้า (Logistics Service Providers) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่มีความสามารถในการบริหารจัดการโดยใช้ระบบ Software และระบบจัดการที่ทันสมัย โดยทั่วไปบริษัทเหล่านี้จะไม่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ แต่มีความต้องการเช่าคลังสินค้าเพื่อใช้ในการดำเนินงานแทน
  • ผู้ประกอบการประเภทศูนย์กระจายสินค้าด้วยระบบที่ทันสมัย (Distribution Center) และศูนย์จัดหาจัดซื้อชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ (International Procurement Office)
  • ผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกขนาดใหญ่ โดยลูกค้ากลุ่มนี้มีความต้องการเช่าพื้นที่คลังสินค้าเพื่อจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าไปยังลูกค้าทั้งในเขตกรุงเทพฯ และภูมิภาคต่างๆ
  • กลุ่มบริษัทนำเข้าและส่งออก ซึ่งมีความต้องการใช้อาคารคลังสินค้าที่ตั้งอยู่ใกล้สนามบินและท่าเรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่เขตปลอดอากร
  • ผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์และอีคอมเมิร์ซ ทั้งในและต่างประเทศ
  • ผู้ประกอบการอื่นๆ ที่มีธุรกิจสนับสนุนการกระจายสินค้าและกิจการโลจิสติกส์ เช่น ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าและบริการขนส่ง
  • ผู้ให้บริการบรรจุสินค้าและถ่ายบรรจุสินค้า ผู้ให้บริการสร้างมูลค่าเพิ่ม (การตรวจสอบคุณภาพ การติดฉลาก การซ่อมแซม และการประกอบ/บรรจุสินค้า) รวมถึงผู้ให้บริการเช่าอุปกรณ์ขนถ่าย ผู้ให้บริการแรงงานชั่วคราวและยกขนสินค้า เป็นต้น

ทั้งนี้ บริษัทฯ มีกลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดที่สำคัญ ได้แก่ การติดต่อลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเองโดยตรง และการติดต่อผ่านตัวกลางต่างๆ เช่น ติดต่อผู้ผลิตรายใหญ่เพื่อเสนอบริการให้เช่าโรงงาน/คลังสินค้าให้แก่คู่ค้าของผู้ผลิตเหล่านั้น การติดต่อผ่านหน่วยงานรัฐบาล สถานทูต สำนักงานการค้า สมาคมหอการค้า เจ้าของนิคมอุตสาหกรรม ตัวแทนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และตัวกลางอื่นๆ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการใช้สื่อทางการตลาดประเภทอื่นที่มีประสิทธิผลตามความเหมาะสม ได้แก่ การเข้าร่วมงานสัมมนา งานแสดงสินค้า และการประชุมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและต่างประเทศ

ในปี 2567 ระดับความพึงพอใจของลูกค้ากลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ ประเภทคลังสินค้าอยู่ที่้ร้อยละ 89 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 87 ในปี 2566

ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวม

เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 2.3 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2567 ที่เติบโตร้อยละ 1.6 ส่งผลให้การเติบโตในครึ่งปีแรกอยู่ที่ร้อยละ 1.9 โดยเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในภาวะชะลอตัว เนื่องจากปัญหาโครงสร้างในภาคการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยในปี 2567 ยังได้รับปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ได้แก่ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ การลงทุนจากภาครัฐ รวมถึงภาคการส่งออกที่เริ่มกลับมาขยายตัวอย่างช้าๆ สอดคล้องกับการฟื้นตัวของการค้าโลก

ในส่วนของธุรกิจโรงงานและคลังสินค้าให้เช่า เป็นธุรกิจที่ภาครัฐให้ความสำคัญและให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งปัจจุบันได้มีการร่างแผนพัฒนาสำหรับปี 2566-2570 เพื่อยกระดับเขตเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมให้เป็นเขตพัฒนาอุตสาหกรรมระดับโลก โดยต่อยอดจากแผนปี 2561-2565 เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลักทั้ง 4 โครงการอย่างต่อเนื่อง โดยแผนลงทุนอีอีซีนี้จะช่วยขับเคลื่อนต่อยอดและเร่งรัดการลงทุนด้วยการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และวิจัยพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ โดยเน้นที่การดึงดูด 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย อาทิ ยานยนต์ไฟฟ้า ดิจิทัล การแพทย์ และ โลจิสติกส์ ภายใต้บริบทของเศรษฐกิจสีเขียว (BCG)

ธุรกิจโรงงานพร้อมให้เช่าในไตรมาส 1 ปี 2567 มีอุปทานอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2566 ที่ 2.5 ล้านตารางเมตร เติบโตขึ้นร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่อัตราการเช่าอยู่ที่ร้อยละ 89.0 ปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 83.6 ในปีก่อน แม้ดัชนีอุตสาหกรรมและภาคการส่งออกจะปรับตัวลดลง ซึ่งสอดคล้องกับเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว แต่ประเทศไทยยังได้รับปัจจัยบวกจากการที่นักลงทุนต่างชาติย้ายฐานการผลิต โดยเห็นได้จากดัชนีการส่งเสริมการลงทุนของต่างชาติช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2567 BOI เปิดเผยว่ามีสถิติยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนของต่างชาติรวมทั้งสิ้น 889 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 83 คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 325,736 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ในส่วนของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีคำขอรับการส่งเสริมจำนวน 166 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนสูงที่สุดกว่า 1.4 แสนล้านบาท โดยยังมีแนวโน้มขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องจากกระแสย้ายฐานการผลิตของกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดความเสี่ยงจากสงครามการค้าและความขัดแย้งของขั้วมหาอำนาจ รวมทั้งต้นทุนการผลิตในโลกตะวันตกที่สูงขึ้นมาก ประกอบกับนักลงทุนเชื่อมั่นในศักยภาพของไทย จึงเลือกขยายฐานการผลิตมาที่ประเทศไทย โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ในกลุ่มแผ่นวงจรพิมพ์ (PCB) เซมิคอนดัคเตอร์ การทดสอบแผงวงจรรวม ตัวเก็บประจุไฟฟ้า เซลล์แสงอาทิตย์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มธุรกิจโรงงานพร้อมให้เช่ามีโอกาสเติบโตไปในทางเดียวกันกับข้อมูลของ BOI โดยจะเห็นการเติบโตของอัตราการเช่าที่ชัดเจนขึ้นในแต่ละไตรมาสของปี 2567

ธุรกิจคลังสินค้าพร้อมให้เช่าในช่วงไตรมาส 4 ปี 2566 อุปทานยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ประมาณ 5.7 ล้านตารางเมตร ขณะที่อัตราการเช่าอยู่ที่ร้อยละ 84.4 โดยคาดการณ์ว่าจะมีอุปทานเข้ามาในตลาดเพิ่มเติมอีกกว่า 400,000 ตารางเมตร ส่งผลให้ภายในปี 2567 อุปทานรวมทั้งตลาดจะอยู่ที่ประมาณ 6.1 ล้านตารางเมตร ส่วนอุปสงค์ยังคงขับเคลื่อนมาจากการเติบโตของธุรกิจโลจิสติกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีความต้องการในการใช้คลังสินค้าเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ผลกระทบอย่างรุนแรงจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ที่มีการใช้มาตรการโต้ตอบทั้งในเชิงนโยบายและภาษี เริ่มส่งผลให้มีการย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศจีนเพิ่มสูงขึ้น แนวโน้มธุรกิจคลังสินค้าและโรงงานยังสามารถเติบโตได้ดี ความสนใจเช่าพื้นที่คลังสินค้าแบบ Built-to-Suit และ Warehouse Farm ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้ประกอบการต่างชาติยังมีความสนใจอย่างมากที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมในประเทศไทย อาทิ รถยนต์ไฟฟ้า (EV) และยานยนต์ นอกจากนี้พฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนมาซื้อสินค้าบนออนไลน์มากขึ้น ทำให้ศูนย์กระจายสินค้าที่ได้มาตรฐานและระบบโลจิสติกส์ที่ทันสมัยถือเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อของผู้บริโภคให้รวดเร็วและถูกต้องในทุกแพลตฟอร์ม ทั้งนี้ ประเทศไทยยังมีความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งที่อยู่ใจกลางอาเซียน ซึ่งเปรียบเสมือนประตูเชื่อมสู่ทุกภูมิภาคในทวีปเอเชีย อีกทั้งยังมีความพร้อมในด้านทรัพยากรและเครือข่ายธุรกิจ รวมถึงการมีแรงงานทักษะสูงจำนวนมาก การมีระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นอย่างครบครัน รวมถึงโครงข่ายคมนาคมทั้งทางถนน ทางราง ทางอากาศ และทางน้ำ ซึ่งล้วนมีความสำคัญต่อการขนส่งและกระจายสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ประเทศไทยสามารถตอบโจทย์ภาคธุรกิจโลจิสติกส์สมัยใหม่ในทุกด้าน

กลยุทธ์ทางธุรกิจโดยรวม

1) ตั้งเป้าเป็นผู้นำในการให้บริการสมาร์ทแพลตฟอร์มด้านอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมระดับสากล

บริษัทฯ เป็นผู้นำในการพัฒนาโรงงานและคลังสินค้าให้เช่าประเภท Ready-Built อันดับหนึ่งของประเทศไทย และเป็นผู้พัฒนาโรงงานและคลังสินค้าชั้นนำในประเทศเวียดนามและอินโดนิเซีย โดยได้พัฒนาและบริหารพื้นที่โรงงานและคลังสินค้าแล้วเสร็จรวมกว่า 3.63 ล้านตารางเมตร ในอนาคตบริษัทฯ จะยังคงมุ่งพัฒนาโครงการประเภท Ready-Built ในทำเลที่มีศักยภาพสูงและมีความต้องการของลูกค้า โดยใช้มาตรการลดความเสี่ยงจากการหาผู้เช่า ด้วยการเปิดให้ลูกค้าสามารถเช่าล่วงหน้า (Pre-lease) สำหรับโครงการที่กำลังจะพัฒนาอยู่ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนการพัฒนาโรงงานและคลังสินค้าประเภท Built-to-Suit โดยนำองค์ความรู้และประสบการณ์ของบริษัทในเครือกลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ มาปรับใช้ โดยการพัฒนาโครงการ Built-to-Suit จะมีการทำงานร่วมกับลูกค้า ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบเพื่อให้รองรับความต้องการเฉพาะของลูกค้า เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ รวมทั้งการพัฒนาอาคารสีเขียวตามมาตรฐานระดับโลก เช่น LEED และ EDGE โดยบริษัทฯ มีการลงทุนร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจที่จะนำเสนอบริการครบวงจรทั้งในด้านการจัดเก็บข้อมูล รวมถึงพื้นที่สำนักงานให้เช่าที่อยู่ในทำเล CBD เพื่อให้บริการกับลูกค้าที่อยู่ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมด้วย

2) บริหารสินทรัพย์อย่างเบ็ดเสร็จ (Asset Management Strategy)

บริษัทฯ ร่วมมือกับกลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จัดตั้งทีมงานในการบริหารสินทรัพย์อย่างเบ็ดเสร็จ โดยศึกษาการใช้ประโยชน์ของโรงงานและคลังสินค้าทั้งหมดของบริษัทฯ ซึ่งสินทรัพย์บางอย่างอาจสามารถนำมาดัดแปลง ปรับเปลี่ยนโครงสร้าง หรือปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอย เช่น การปรับเปลี่ยนคลังสินค้าให้เป็นโรงงานหรือโครงการ Built-to-Suit การปรับเปลี่ยนขนาดของอาคารให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด การร่วมมือกับพันธมิตรในการลงทุนและพัฒนาสินทรัพย์เหล่านั้นให้เป็นอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่น รวมถึงการขายสินทรัพย์เหล่านั้นให้กับผู้ประกอบการรายอื่น หรือผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ การบริหารสินทรัพย์อย่างเบ็ดเสร็จจะช่วยให้บริษัทฯ ใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และยังสามารถนำรายได้ที่เพิ่มขึ้นมาเสริมสภาพคล่อง และนำมาลงทุนพัฒนาโครงการในธุรกิจของบริษัทฯ ได้อีกด้วย

3) เพิ่มศักยภาพให้กับโรงงานและคลังสินค้า

บริษัทฯ มีแผนปรับปรุงและเพิ่มศักยภาพให้กับโรงงานและคลังสินค้า โดยนอกเหนือจากการปรับปรุงเบื้องต้นและการปรับแบบตามความต้องการของลูกค้าแล้ว บริษัทฯ ยังอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาปรับใช้ เช่น การนำระบบอัตโนมัติในกระบวนการผลิต (Automation) หรือการพัฒนาโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) เพื่อเตรียมพร้อมและสนองนโยบายภาครัฐในการยกระดับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต หรือ Thailand 4.0

4) ต่อยอดสู่ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

บริษัทฯ เล็งเห็นความสำคัญของการต่อยอดสู่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องอื่นๆ โดยอยู่ระหว่างการศึกษาธุรกิจด้านสาธารณูปโภค (Utility) การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร หรือโครงการมิกซ์ยูสที่มีอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมเป็นตัวหลัก รวมถึงการศึกษาเขตธุรกิจและเขตการค้าควบคู่กับศูนย์โลจิสติกส์ ซึ่งบริษัทฯ คาดว่าธุรกิจเหล่านี้จะสร้างแพลตฟอร์มในการต่อยอดและเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจในปัจจุบันได้

5) การขยายฐานลูกค้าสู่ประเทศในกลุ่มอาเซียน

บริษัทฯ มีกลยุทธ์ที่จะขยายธุรกิจสู่ประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยมุ่งเน้นที่ประเทศอินโดนีเซียและเวียดนาม ซึ่งมีศักยภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง ในขณะที่ค่าแรงยังต่ำกว่าประเทศไทย ทำให้มีความต้องการอสังหาริมทรัพย์ประเภทอุตสาหกรรมทั้งในด้านโรงงานและคลังสินค้าในระดับสูง ซึ่งบริษัทฯ สามารถตอบสนองความต้องการทั้งในแง่ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและการให้บริการที่ครบวงจร ปัจจุบันอัตราการเช่าคลังสินค้าในประเทศอินโดนีเซียอยู่ในระดับสูงที่ประมาณร้อยละ 95 จากความต้องการคลังสินค้าในประเทศที่เติบโตสอดคล้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ บริษัทฯ จึงมีแผนพัฒนาคลังสินค้าพร้อมใช้ (Ready-Built Warehouse) เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น ในส่วนของประเทศเวียดนาม บริษัทฯ ได้ส่งมอบโรงงานพร้อมให้เช่าในเฟสที่สอง ซึ่งมีพื้นที่กว่า 60,000 ตารางเมตร เพื่อรองรับความต้องการโรงงานในประเทศ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ Built-to-Suit สำหรับลูกค้าในธุรกิจ E-commerce เพิ่มเติม ซึ่งคาดว่าจะสามารถส่งมอบได้ภายในปี 2568

การจัดหาผลิตภัณฑ์หรือบริการ

1) การจัดหาที่ดิน

บริษัทฯ มีนโยบายการจัดหาที่ดินที่เหมาะสม โดยมุ่งเน้นในทำเลที่มีศักยภาพ สะดวกต่อการคมนาคมและมีโอกาสได้รับสิทธิประโยชน์จาก BOI ทั้งนี้ ราคาที่ดินจะต้องไม่สูงเกินไปและขนาดของที่ดินจะต้องเหมาะสม เพื่อให้สามารถพัฒนาโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างผลตอบแทนให้กับธุรกิจอย่างเหมาะสมในระยะยาว

ขั้นตอน/หลักเกณฑ์การจัดหาที่ดิน

  • ทำเลที่ตั้งเหมาะสมอยู่ในทำเลยุทธศาสตร์ มีการคมนาคมสะดวก ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เช่า และสามารถได้รับสิทธิประโยชน์จาก BOI
  • ราคาที่ดินเหมาะสมที่บริษัทฯ จะสามารถสร้างผลตอบแทนจากค่าเช่าได้ และสามารถแข่งขันกับผู้เล่นรายอื่นๆ ในตลาดได้
  • คำนึงถึงการรองรับการขยายโครงการหรือการปรับเปลี่ยนรูปแบบโครงการ รวมถึงความสามารถในการตอบสนองความต้องการของผู้เช่ารายต่อไป

2) ทีมงานพัฒนา/การออกแบบ และการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง

บริษัทฯ พัฒนาโรงงาน/คลังสินค้าบนที่ดินที่มีศักยภาพ ด้วยทีมงานออกแบบและทีมงานพัฒนาโครงการที่มีประสบการณ์ โดยมีทั้งส่วนที่ดำเนินการโดยทีมงานภายในของบริษัทฯ เอง ซึ่งช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานพัฒนาและลดต้นทุนการพัฒนาของบริษัทฯ รวมถึงมีทีมงานผู้ออกแบบและที่ปรึกษาโครงการที่ว่าจ้างมาโดยเฉพาะ ซึ่งช่วยให้งานที่ต้องการความชำนาญและเชี่ยวชาญพิเศษมีศักยภาพตรงกับวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ และลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ในส่วนของวัสดุที่สำคัญในการพัฒนาโรงงาน/คลังสินค้าของบริษัทฯ ได้แก่ เหล็ก และคอนกรีต บริษัทฯ สามารถสั่งซื้อวัสดุที่มีคุณภาพโดยตรงจากผู้ผลิตหลายราย ในคุณภาพและราคาที่เหมาะสมและใกล้เคียงกัน

สำหรับการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง บริษัทฯ กำหนดนโยบายการเลือกคู่ค้าที่เป็นรูปธรรม รวมถึงการกำหนดวิธีการปฏิบัติงาน คุณภาพของสินค้าและบริการ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้าและการปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม โปร่งใสและตรวจสอบได้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการพิจารณาจากราคากลาง เพื่อให้บริษัทฯ ได้รับสินค้าและบริการในราคาที่เหมาะสมอีกด้วย

ขั้นตอน/หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง

  • จัดทำบัญชีรายชื่อคู่ค้าที่ผ่านการรับรอง (Approved Vendor List) โดยรวบรวมข้อมูลคู่ค้าที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการ แยกตามประเภทของสินค้าและบริการ พร้อมทั้งปรับปรุงข้อมูลจากคู่ค้าที่เข้ามาติดต่อซื้อขายกับบริษัทฯ
  • พิจารณาคู่ค้าที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เช่น มีประวัติหรือชื่อเสียงที่ดี ส่งมอบของที่มีคุณภาพ ครบถ้วน ตรงเวลา และมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในสินค้าหรือบริการนั้น มีความพร้อมทั้งด้านเครื่องมือ อุปกรณ์และกำลังคน มีผลงานในอดีตที่เป็นที่ยอมรับ รวมถึงมีบริการหลังการขายที่ดี
  • จัดให้มีคณะกรรมการประมูลเพื่อให้บริษัทฯ ได้รับผลประโยชน์สูงสุด โดยบริษัทฯ จะพิจารณาร่วมกับราคากลางที่เหมาะสม
  • การจัดซื้อจัดจ้างทุกครั้งต้องได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจทุกครั้ง
  • มีกระบวนการในการตรวจสอบและประเมินว่า สินค้าที่จัดซื้อจัดจ้างเป็นไปตามเงื่อนไขและข้อกำหนด
  • มีเกณฑ์ในการประเมิน และคัดเลือกคู่ค้าที่ชัดเจนและโปร่งใส
  • มีการเปิดโอกาสให้คู่ค้ารายใหม่ๆ ได้เข้ามาเสนอสินค้าและบริการกับบริษัทฯ

งานระหว่างการพัฒนา

ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 บริษัทฯ มีโครงการอยู่ระหว่างการพัฒนา ประกอบไปด้วย โครงการบางนา 2 โลจิสติกส์ พาร์ค ซึ่งเป็นการร่วมทุนกับกลุ่มบริษัทมิตซุย ฟุโดซัง ตั้งอยู่บนถนนบางนา-ตราด กม. 46 ซึ่งอยู่ในพื้นที่เขต EEC อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีพื้นที่รวมกว่า 187 ไร่ ภายในโครงการมีคลังสินค้าคุณภาพสูงแบบพร้อมใช้หรือ Ready-Built Warehouse และแบบสร้างตามความต้องการของลูกค้าหรือ Built-to-Suit รูปแบบใหม่ที่สามารถรองรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ของลูกค้า เช่น ระบบออโตเมชั่น และระบบควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการสร้างเฟสที่ 2 ซึ่งเป็นคลังสินค้าพร้อมใช้ในเขตปลอดอากร (Free Zone) มีขนาดพื้นที่เช่าอยู่ที่ประมาณ 25,000 ตารางเมตร ซึ่งออกแบบเพื่อให้สอดรับกับแนวโน้มความต้องการใช้อาคารคลังสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ แผนการพัฒนารวมทุกเฟสจะมีพื้นที่อาคารให้เช่ารวมกว่า 160,000 ตารางเมตร พร้อมรองรับความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่มได้เป็นอย่างดี

ขณะเดียวกัน บริษัทฯ อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ บางพลี 4 เฟสที่ 2 มีพื้นที่อาคารรวม 29,000 ตารางเมตร ในทำเลยุทธศาสตร์บางพลี สมุทรปราการ ซึ่งเป็นอาคารแบบสร้างตามฟังก์ชันพร้อมใช้ (Built-to-Function)

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาเป็นคลังสินค้าประเภท Built-to-Suit ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยดำเนินการร่วมกับกลุ่มธุรกิจค้าปลีก มีพื้นที่อาคารรวมอยู่ที่ 89,000 ตารางเมตร

การดำเนินธุรกิจในประเทศเวียดนาม

ภาพรวมประกอบธุรกิจ

ประเทศเวียดนามเป็นประเทศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยคาดการณ์ว่าในปี 2567-2569 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) จะมีการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 5.5-7.0 เป็นผลมาจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง การเติบโตของภาคส่งออก และการขยายตัวของการลงทุนจากต่างประเทศ ภายใต้การดำเนินนโยบายที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมการลงทุนและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ รวมถึงสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมควบคู่กับการส่งเสริมการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ อีกทั้งเวียดนามยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์สำหรับภาคการผลิตและการท่องเที่ยว ด้วยจำนวนประชากรมากกว่า 100 ล้านคน ซึ่งเป็นตลาดแรงงานที่ราคาไม่สูงมากนักและเป็นตลาดสำหรับสินค้าและบริการได้เป็นอย่างดี รวมถึงมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่สะดวกต่อการขนส่งทางบกและเป็นเส้นทางออกสู่ทะเลของลาวและมณฑลยูนนานของจีน จึงทำให้เวียดนามเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง เป็นจุดหมายปลายทางหนึ่งในอาเซียนที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากธุรกิจที่พิจารณาย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศจีน นอกจากนี้ เวียดนามได้เข้าร่วมความตกลงทางการค้าระหว่างประเทศทั้งพหุภาคีและทวิภาคีต่างๆ รวมทั้งความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreements: FTA) ส่งผลให้เพิ่มโอกาสการส่งออกสินค้าได้มากยิ่งขึ้น โดยมีกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ อาทิ การแปรรูปพืชผลเกษตร การแปรรูปอาหารทะเล ธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับรถจักรยานยนต์ การก่อสร้าง และธุรกิจด้านการท่องเที่ยว

จากปัจจัยสนับสนุนดังกล่าวข้างต้น บริษัทฯ เล็งเห็นถึงโอกาสต่อยอดการเติบโตของธุรกิจ จึงได้จัดตั้งบริษัทย่อยขึ้นเพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจและขยายการลงทุนของกลุ่มบริษัทในต่างประเทศ โดยในปี 2564 บริษัทฯ ได้ซื้อที่ดินขนาด 46.8 เฮคเตอร์ในเมืองบินห์เดือง (Bin Duong) ประเทศเวียดนาม มูลค่ารวมทั้งสิ้น 47.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1,435.2 ล้านบาท และในปี 2565 ได้มีการซื้อที่ดินเพิ่มอีก 12.0 เฮคเตอร์ โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ เพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจด้านนิคมอุตสาหกรรมและธุรกิจคลังสินค้าให้เช่า ทั้งนี้ บินห์เดือง นับเป็นเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญของเวียดนามใต้ที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ จากโครงข่ายโลจิสติกส์และมาตรการสนับสนุนอุตสาหกรรม ที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ที่ดี ซึ่งอยู่ใกล้นครโฮจิมินห์และท่าเรือ รวมถึงมีประชากรราว 2.4 ล้านคน เป็นสัดส่วนแรงงานร้อยละ 76 อีกทั้งยังเป็นเมืองยอดเยี่ยมในการจัดอันดับดัชนีอุสาหกรรมในประเทศเวียดนาม เมื่อเทียบกับโฮจิมินห์ ด่งนาย และบ่าเหรี่ยะ-หวุงเต่า นอกจากนี้ เมืองบินห์เดืองมีพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมใหญ่ที่สุดในเวียดนามใต้ มีค่าเช่าถูกกว่าเมืองโฮจิมินห์ถึงร้อยละ 40-55 และเป็นเมืองที่โดดเด่นด้านอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

ลักษณะผลิตภัณฑ์และบริการ

นิคมอุตสาหกรรมในเวียดนามมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากราคาแรงงานที่ถูกและการย้ายฐานการผลิตจากประเทศจีน ซึ่งส่งเสริมให้เกิดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจโรงงานและคลังสินค้าพร้อมเช่าจึงเติบโตขึ้นตามความต้องการของผู้ประกอบการที่มากขึ้น จากรายงานของ House Link ระบุว่าพื้นที่ในภาคใต้ของเวียดนามเป็นที่ต้องการของตลาดและมีราคาค่าเช่าที่สูงกว่าภาคอื่น ทำให้บริษัทฯ มองเห็นโอกาสในการขยายการลงทุนไปในประเทศเวียดนาม โดยบินห์เดือง นับว่าเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในเรื่องการเติบโตจากการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม ซึ่งหลายบริษัทมองว่าจะกลายเป็นศูนย์กลางการพัฒนาที่เติบโตอย่างยั่งยืน อีกทั้งนิคมอุตสาหกรรมบินห์เดือง มีการออกแบบที่มีเอกลักษณ์ โดยรวมกิจกรรมทางอุตสาหกรรม การดำเนินธุรกิจ วิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพและความผ่อนคลายเข้าด้วยกันอย่างครบวงจร มีทีมงานระดับมืออาชีพในการช่วยเหลือผู้เช่า มีโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมต่อด้านโลจิสติกส์ที่ทันสมัย นอกจากนี้ ที่ดินยังถูกออกแบบเพื่อรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมด้วยมาตรฐานระดับสากลและความยั่งยืนในอนาคต อาทิ ระบบสาธารณูปโภค ระบบการบำบัดน้ำเสีย ระบบสื่อสาร และถนนที่เชื่อมต่อกับถนนหลัก ปัจจุบันบริษัทฯ ได้ดำเนินการพัฒนาโรงงานให้เช่าในพื้นที่โครงการเฟสที่หนึ่งเสร็จสิ้นไปตั้งแต่ปี 2565 และเฟสที่สองได้ทำการส่งมอบแล้ว พร้อมเปิดให้บริการในปี 2567 คิดเป็นพื้นที่รวมทั้ง 2 เฟสอยู่ที่ 104,798 ตารางเมตร

การตลาดและสภาวะการแข่งขัน

ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวม

จากสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนที่รุนแรงขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้อุตสาหกรรมต่างๆ ที่ใช้จีนเป็นฐานการผลิต เริ่มมองหาฐานการผลิตอื่นเพื่อลดความเสี่ยงจากปัญหาการกีดกันทางการค้า ซึ่งประเทศเวียดนามได้รับความสนใจจากบริษัททั่วโลกในการเป็นฐานการผลิตแห่งใหม่ เนื่องจากแนวโน้มการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพิจารณาจัดตั้งโรงงานการผลิตของผู้ประกอบการ ทั้งนี้ นิคมอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ในประเทศเวียดนามเป็นพื้นที่ที่รัฐบาล ภาคเอกชน หรือกิจการร่วมทุนระหว่างรัฐบาลกับเอกชนร่วมกันจัดสรรให้ดำเนินกิจการอุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบ โดยมีระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครัน เพื่อให้เป็นไปตามการจัดวางผังเมืองที่เหมาะสม ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและความแออัดในตัวเมือง อีกทั้งเป็นการกระจายรายได้และความเจริญไปสู่ภูมิภาคอีกด้วย ปัจจุบันธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมในประเทศเวียดนามมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีแรงขับเคลื่อนมาจากการขยายการลงทุนของภาคเอกชนในประเทศ และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นและการขยายตัวของภาคส่งออก

เศรษฐกิจของเวียดนามในครึ่งแรกของปี 2567 เติบโตร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยหนุนจากการบริโภคภาคครัวเรือนและการลงทุนภาครัฐ การเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจอีคอมเมิร์ซและธุรกิจรีเทลส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความต้องการขยายพื้นที่โรงงานและคลังสินค้าให้เช่าเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตและจัดเก็บสินค้าให้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งด้วยต้นทุนค่าแรงงาน ค่าสาธารณูปโภค และค่าใช้จ่ายในการผลิตรวมที่ถูกกว่าประเทศข้างเคียง ประกอบกับนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ เป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดบริษัทชั้นนำทั่วโลกให้เข้ามาลงทุนในประเทศเวียดนาม โดยในครึ่งแรกของปี 2567 มูลค่าการลงทุนจากต่างชาติอยู่ที่ประมาณ 15,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตขึ้นร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงโอกาสในการเติบโตของประเทศเวียดนามในอนาคต

จากข้อมูลของ JLL เปิดเผยว่าตลาดอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ของประเทศเวียดนามที่ผ่านมาเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยคาดการณ์ว่าในปี 2566-2568 การลงทุนในธุรกิจโรงงานและคลังสินค้าให้เช่าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเพิ่มขึ้นเป็น 5-6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก 2.5-3.0 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563-2564 นอกจากนี้ กลุ่มเมืองอุตสาหกรรมในเวียดนามใต้ ซึ่งประกอบไปด้วย โฮจิมินห์ บินห์เดือง ด่งนาย บ่าเหรี่ยะ-หวุงเต่า และหลงอัน ยังมีศักยภาพที่แข็งแกร่งในการดึงดูดผู้ผลิตและผู้ประกอบการขนส่งสินค้า โดยมีอัตราการเช่าพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมและโรงงานอยู่ที่ร้อยละ 84 และร้อยละ 88 ตามลำดับ ในอนาคตแผนส่งเสริมการลงุทนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมต่อเมืองต่างๆ ของรัฐบาลจะสนับสนุนให้ธุรกิจอุตสาหกรรมเติบโต รวมถึงทำให้ราคาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในเวียดนามใต้ปรับตัวสูงขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในอนาคตจะต้องมีความยืดหยุ่น ตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลายและสนับสนุนแนวคิดด้านความยั่งยืน โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลัก คือบริษัทข้ามชาติ (Multinational Corporation) และบริษัทเวียดนามที่ต้องการโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่ได้มาตรฐานระดับสากล โดยเน้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องการเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตขั้นสูง กลุ่มโลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมไร้มลพิษ

กลยุทธ์ทางธุรกิจโดยรวม
  • ตั้งเป้าเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนในตลาดเวียดนามที่มีศักยภาพสูง

    บริษัทฯ มุ่งขับเคลื่อนธุรกิจจากความต้องการอสังหาริมทรัพย์ประเภทอุตสาหกรรมทั้งโรงงานและคลังสินค้าที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลายและครบวงจร อีกทั้งยังนำองค์ความรู้และประสบการณ์ของบริษัทในกลุ่มเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด ที่มีความคุ้นเคยกับตลาดเวียดนามมาประยุกต์ใช้ พร้อมเดินหน้าพัฒนาโครงการ Built-to-Suit เพื่อรองรับความต้องการเฉพาะของลูกค้า

  • ต่อยอดสู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเพื่อเสริมบริการโซลูชั่นด้านอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร

    บริษัทฯ พร้อมแสวงหาโอกาสในการลงทุนเพื่อต่อยอดสู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอยู่เสมอ ทั้งนี้ การลงทุนดังกล่าวต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์หลักของกลุ่มเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ

การจัดหาผลิตภัณฑ์หรือบริการ

ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในประเทศเวียดนาม กระทรวงการวางแผนและการลงทุน (Ministry of Planning and Investment) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดทำแผนแม่บทเพื่อเสนอให้นายกรัฐมนตรีอนุมัติ เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมใหม่และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับเขตนิคมอุตสาหกรรมใหม่ โดยภายหลังจากที่แผนแม่บทได้รับการอนุมัติแล้ว Provincial People’s Committee จะเป็นผู้ตัดสินใจในรายละเอียดการจัดตั้งหรือขยายเขตอุตสาหกรรมตามแผนแม่บทดังกล่าว ซึ่งภายใต้กฎหมายของประเทศเวียดนาม รัฐบาลจะจัดสรรและให้เช่าที่ดินแก่องค์กรหรือบุคคลธรรมดา เพื่อลงทุน ก่อสร้าง และจัดการโครงสร้างพื้นฐานในนิคมอุตสาหกรรม โดยมีหน่วยงานที่จะจัดสรรที่ดินให้คือ Provincial People’s Committee และหน่วยงานกำกับดูแลเขตอุตสาหกรรมประจำจังหวัดนั้นๆ

สำหรับการจัดหาที่ดินของผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมนั้น เนื่องจากตามกฎหมายของประเทศเวียดนามไม่อนุญาตให้บุคคลต่างชาติครอบครองที่ดินได้ ดังนั้นผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมจะต้องได้รับการจัดสรรที่ดินให้เช่าจากหน่วยงานรัฐ และมีการจ่ายค่าเช่าที่ดินให้แก่หน่วยงานรัฐทั้งแบบรายปีหรือแบบจ่ายครั้งเดียวเมื่อเซ็นสัญญา ปัจจุบันบริษัทฯ ได้รับการอนุมัติและสามารถดำเนินการพัฒนาที่ดินขนาด 58.8 เฮคเตอร์ คิดเป็นพื้นที่พร้อมให้เช่ากว่า 230,000 ตารางเมตร

งานระหว่างการพัฒนา

โครงการพัฒนาที่ดินในนิคมอุตสาหกกรรมบินห์เดืองในเฟสที่ 1 และเฟสที่ 2 ได้ดำเนินการสร้างแล้วเสร็จ โดยเป็นโรงงานพร้อมเช่ารวมพื้นที่กว่า 104,798 ตารางเมตร ปัจจุบันมีโครงการ Built-to-Suit ที่อยู่ระหว่างการพัฒนา พื้นที่ประมาณ 30,000 ตารางเมตร ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2568

การดำเนินธุรกิจในประเทศอินโดนีเซีย

ภาพรวมประกอบธุรกิจ

บริษัทฯ มองหาโอกาสในการขยายการลงทุนเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนและแข็งแกร่งอยู่เสมอ โดยมุ่งขยายพอร์ตโฟลิโออสังหาริมทรัพย์ครบวงจรไปยังต่างประเทศ เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยบริษัทฯ เข้าลงทุนในโครงการโลจิสติกส์เซ็นเตอร์ที่ให้บริการคลังสินค้าสมัยใหม่ใน 3 โครงการสำคัญ ตั้งอยู่ที่เมืองคาราวัง เมืองมากัซซาร์ และเมืองบันจาร์มาซิน ประเทศอินโดนีเซีย ผ่านการเข้าถือหุ้นในบริษัท PT SLP Surya Ticon Internusa ในสัดส่วนร้อยละ 75 และบริษัท PT Surya Internusa Timur ในสัดส่วนร้อยละ 100 ซึ่งช่วยสร้างการเติบโตให้พอร์ตโฟลิโอในต่างประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 150,000 ตารางเมตร อีกทั้งในปีนี้ บริษัทฯ ยังได้ขยายการลงทุนในประเทศอินโดนีเซียเพิ่มเติมด้วยการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท PT SLP Surya Ticon Internusa เป็นร้อยละ 100 บริษัทฯ เชื่อมั่นว่าการลงทุนเชิงกลยุทธ์ในครั้งนี้ จะช่วยเสริมความมั่นคงให้แก่บริษัทฯ ด้วยกระแสรายได้จากค่าเช่าที่สม่ำเสมอจากกลุ่มลูกค้าแบรนด์ชั้นนำได้

ลักษณะผลิตภัณฑ์และบริการ

โครงการทั้ง 3 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองคาราวัง เมืองมากัซซาร์ และเมืองบันจาร์มาซิน ล้วนเป็นโครงการที่มีความทันสมัย ตอบโจทย์การดำเนินงานของภาคโลจิสติกส์ยุคปัจจุบัน ที่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดเก็บและกระจายสินค้า โดยโลจิสติกส์เซ็นเตอร์ในเมืองคาราวัง ตั้งอยู่ในทำเลศักยภาพเชื่อมต่อกับกรุงจาการ์ตาและแวดล้อมไปด้วยนิคมอุตสาหกรรมสำคัญหลายแห่ง ภายในโครงการมีพื้นที่โรงงานและคลังสินค้ามาตรฐานสากลรวมทั้งสิ้น 128,566 ตารางเมตร และได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าจำนวนมากที่เข้าใช้บริการ ประกอบด้วยผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ สินค้าอุปโภคบริโภค และเทคโนโลยี ฯลฯ

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้บริการคลังสินค้าแบบสร้างตามความต้องการหรือ Built-to-Suit ให้แก่แบรนด์ FMCG ยักษ์ใหญ่อย่าง ยูนิลีเวอร์ ประกอบด้วย 2 อาคารตั้งอยู่ในเมืองมากัซซาร์และเมืองบันจาร์มาซิน มีขนาดพื้นที่เช่า 11,358 ตารางเมตร และขนาด 9,750 ตารางเมตร ตามลำดับ ซึ่งเป็นศูนย์กระจายสินค้าขนาดใหญ่ที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ของยูนิลีเวอร์ จุดเด่นของคลังสินค้าในเมืองมากัซซาร์คือทำเลที่ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของสุลาเวสีใต้ ซึ่งมีประชากรมากเป็นอันดับ 5 ของอินโดนีเซียด้วยจำนวนประชากร 1.5 ล้านคน อีกทั้งยังเชื่อมต่อกับสนามบินที่ใกล้ที่สุดห่างไปเพียง 5 กิโลเมตร สำหรับคลังสินค้าในเมืองบันจาร์มาซินก็ตั้งอยู่ในพื้นที่อุตสาหกรรมที่สะดวกต่อการขนส่งและกระจายสินค้าผ่านทางท่าเรือและสนามบิน

การตลาดและสภาวะการแข่งขัน

ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวม

เศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาส 2 ปี 2567 ขยายตัวประมาณร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้แรงหนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐ ขณะที่การบริโภคภายในประเทศยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นว่ากำลังซื้อในประเทศยังคงดีอยู่ ในส่วนภาคการส่งออกครึ่งปีแรกภาพรวมมีการหดตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามการส่งออกน่าจะกลับมาเติบโตขึ้นในครึ่งปีหลังจากภาคการผลิตที่คาดว่าจะกลับมาดีขึ้น

ตลาดอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซียมีมูลค่ารวมมากกว่า 52,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2566 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 86,800 พันล้านดอลลาร์ในปี 2571 โดยได้รับแรงหนุนจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 อินโดนีเซียถือเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซที่แข็งแกร่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีทั้งผู้เล่นระดับท้องถิ่นและระดับโลกหลายรายเข้ามาในตลาดนี้ นอกจากนี้ แนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ตและดิจิทัลที่เพิ่มมากขึ้นยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โดยคาดว่าภายในปี 2568 ธุรกรรมอีคอมเมิร์ซในอินโดนีเซียจะคิดเป็นร้อยละ 50 ของทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซและโลจิสติกส์ ทำให้ความต้องการอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมที่มีคุณภาพระดับสากลของภาคอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงมีความต้องการจากกลุ่มลูกค้าชั้นนำที่จะขยายการดำเนินงานไปในประเทศอินโดนีเซีย

ปัจจุบันอัตราการเช่าคลังสินค้าในประเทศอินโดนิเซียของบริษัทฯ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2567 อยู่ที่ร้อยละ 95 โดยในปีที่ผ่านมาอัตราการเช่าเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ร้อยละ 94 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก ในอนาคตบริษัทฯ มีแผนที่จะพัฒนาคลังสินค้าให้อยู่ในระดับสากลเพื่อรองรับบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ พร้อมมุ่งพัฒนาโครงการ Built-to-Suit เพื่อรองรับความต้องการเฉพาะของลูกค้า โดยบริษัทฯ เชื่อว่ายังมีโอกาสทางธุรกิจอีกมากในประเทศอินโดนีเซีย

กลยุทธ์ทางธุรกิจโดยรวม
  • ตั้งเป้าเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนในตลาดอินโดนีเซีย

    บริษัทฯ มุ่งขับเคลื่อนธุรกิจจากความต้องการอสังหาริมทรัพย์ประเภทอุตสาหกรรมในด้านคลังสินค้าที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลายและครบวงจร อีกทั้งยังนำองค์ความรู้และประสบการณ์ของบริษัทในกลุ่มเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด ที่มีความคุ้นเคยกับตลาดไทยและเวียดนามมาประยุกต์ใช้ พร้อมเดินหน้าพัฒนาโครงการ Built-to-Suit เพื่อรองรับความต้องการเฉพาะของลูกค้า

  • ต่อยอดสู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเพื่อเสริมบริการโซลูชั่นด้านอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร

    บริษัทฯ พร้อมแสวงหาโอกาสในการลงทุนเพื่อต่อยอดสู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอยู่เสมอ ทั้งนี้ การลงทุนดังกล่าวต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์หลักของกลุ่มเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ

การจัดหาผลิตภัณฑ์หรือบริการ

1) การจัดหาที่ดิน

บริษัทฯ มีนโยบายการจัดหาที่ดินที่เหมาะสม อยู่ในทำเลที่มีศักยภาพ สะดวกต่อการคมนาคมและตอบโจทย์ความต้องการของผู้เช่า ทั้งนี้ ราคาที่ดินของบริษัทฯ จะต้องไม่สูงเกินไป ในการที่บริษัทฯ จะสามารถสร้างผลตอบแทนจากค่าเช่าและสามารถแข่งขันกับผู้เล่นรายอื่นๆ ในตลาดได้ อีกทั้งขนาดของที่ดินจะต้องเหมาะสมเพื่อให้สามารถพัฒนาโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคำนึงถึงการรองรับการขยายโครงการหรือการปรับเปลี่ยนรูปแบบโครงการ และความสามารถในการตอบสนองความต้องการของผู้เช่ารายต่อไป

2) ทีมงานพัฒนา/การออกแบบ และการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง

บริษัทฯ พัฒนาคลังสินค้าบนที่ดินที่มีศักยภาพ ด้วยทีมงานออกแบบและทีมงานพัฒนาโครงการที่มีประสบการณ์ โดยมีทั้งส่วนที่ดำเนินการโดยทีมงานภายในของบริษัทฯ เอง ซึ่งช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานพัฒนาและลดต้นทุนการพัฒนาของบริษัทฯ รวมถึงมีทีมงานผู้ออกแบบและที่ปรึกษาโครงการที่ว่าจ้างมาโดยเฉพาะ ซึ่งช่วยให้งานที่ต้องการความชำนาญและเชี่ยวชาญพิเศษมีศักยภาพตรงกับวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ และลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงมีการเปิดโอกาสให้ผู้ค้ารายใหม่ๆ ได้เข้ามาเสนอสินค้าและบริการกับบริษัทฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมโดยการออกแบบคลังสินค้าให้สอดคล้องกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน

งานระหว่างการพัฒนา

ปัจจุบันมีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาในพื้นที่คาราวัง ซึ่งเป็นคลังสินค้าพร้อมใช้ (Ready-Built Warehouse) พื้นที่รวมกว่า 19,000 ตารางเมตร โดยคาดว่าจะพัฒนาแล้วเสร็จภายในปลายปี 2568

ในการดำเนินธุรกิจโครงการอาคารเชิงพาณิชยกรรม บริษัทฯ มีนโยบายที่จะพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองความต้องการของลูกค้าและเสริมกิจกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มอัตราการเช่า และทำให้บริษัทฯ สามารถรับรู้รายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันบริษัทฯ มีโครงการอาคารเชิงพาณิชยกรรมซึ่งประกอบด้วยธุรกิจประเภท อาคารสำนักงาน โรงแรม เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ศูนย์การค้า และรับบริหารอสังหาริมทรัพย์ ดังนี้

โครงการสีลมเอจ (Silom Edge)

ลมเอจ โครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสม (Mixed-Use) มูลค่ากว่า 1,800 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่หัวมุมถนนสีลม ตัดกับถนนพระราม4 ตรงข้ามมีสวนสาธารณะลุมพินี และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจสำคัญของกรุงเทพฯ สามารถเดินทางเชื่อม Skywalk เข้ามาจากรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) สถานีสีลมและรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) สถานีศาลาแดง พื้นที่โครงการมีองค์ประกอบ 2 ส่วน ได้แก่ 1) พื้นที่สำนักงาน 2) พื้นที่ศูนย์การค้า โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • พื้นที่สำนักงาน: อาคารสำนักงานสูง 12 ชั้น ครอบคลุมชั้น 10-22 มีพื้นที่สำนักงานให้เช่า 11,562 ตารางเมตร ด้วยแนวคิด “Be Different, Be Connected” พร้อมระบบ Face recognition turnstile access ที่เน้นแนวทางใหม่ของสำนักงานออฟฟิศให้เช่า รองรับแพลตฟอร์มที่ยืดหยุ่นในการเสริมพลังให้กับ New generation ทั้งผู้ประกอบการ และธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยสามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ได้ตามฟังก์ชั่นการใช้งานของแต่ละธุรกิจ
  • พื้นที่ศูนย์การค้า: ศูนย์การค้าสีลมเอจ (Silom Edge) สูง 7 ชั้น เริ่มตั้งแต่ชั้น B1-4 และ Rooftop ชั้น 9 มีพื้นที่ให้เช่าประมาณ 8,600 ตารางเมตร ด้วยแนวคิด “Life around the clock START HERE - สตาร์ทชีวิตสีลมที่สีลมเอจ” รองรับไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างด้วยร้านค้าที่คัดสรรมาแล้วเป็นอย่างดี เน้นการสร้างประสบการณ์ให้ครบทุกมิติ ประกอบไปด้วย โซนร้านอาหารและบริการที่เปิดให้บริการ 24 ชม. โซนแฟชั่นบาซาร์ โซนความงามแบบครบวงจร โซนคลินิกเพื่อสุขภาพ โซนตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ และโซนแฮงเอาท์ที่ชั้น 9 เปิดให้บริการถึงเที่ยงคืน รองรับที่นั่งทั้งภายใน (Indoor) และภายนอก (Outdoor) สามารถชมวิวสวนลุมพินีและกรุงเทพมหานครได้แบบพาโนรามา

โครงการสามย่านมิตรทาวน์

สามย่านมิตรทาวน์ เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย กรรมแบบผสม (Mixed-Use) มูลค่ากว่า 9,000 ล้านบาท ที่บริษัทฯ พัฒนาภายใต้บริษัทร่วมทุน (บริษัทฯ ลงทุนร้อยละ 49) ตั้งอยู่ที่หัวมุมถนนพระราม 4 ตัดกับถนนพญาไท และทำทางเชื่อมเป็นอุโมงค์จากรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) สถานีสามย่าน พื้นที่โครงการมีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ 1) พื้นที่สำนักงาน 2) ส่วนที่พักอาศัยและโรงแรม และ 3) พื้นที่ศูนย์การค้า โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • พื้นที่สำนักงาน: มิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ (Mitrtown Office Tower) เป็นอาคารสำนักงานเกรดเอ สูง 31 ชั้น มีพื้นที่สำนักงานให้เช่าประมาณ 47,000 ตารางเมตร พร้อมระบบ Turnstile แบบ Face scan เพื่ออำนวยความสะดวก เพิ่มระบบรักษาความปลอดภัยและลดการสัมผัส (Touchless) พร้อมประหยัดพลังงานด้วยหลอดไฟ LED ทั้งอาคาร ระบบปรับอากาศสามารถปรับอุณหภูมิในพื้นที่ย่อยได้ (ระบบ VAV) และพื้นที่สำนักงานแบบไร้เสากลางและฝ้าเพดานสูงเพื่อความยืดหยุ่นในการจัดพื้นที่สำนักงาน โดยอาคารสำนักงานเปิดใช้งานตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2562 และได้รับการรับรองเป็นอาคารอนุรักษ์พลังงาน Leadership in Energy and Environmental Design (“LEED”) ในระดับ GOLD เมื่อเดือนสิงหาคม 2563 จากสภาอาคารเขียวแห่งสหรัฐอเมริกา U.S. Green Building Council: USGBC)
  • ส่วนที่พักอาศัย: อาคารที่พักอาศัยสูง 33 ชั้น ประกอบไปด้วยทริปเปิ้ล วาย เรสซิเด้นซ์ (Triple Y Residence) อาคารชุดแบบสิทธิการเช่า 516 ยูนิต ครบครันด้วยสระว่ายนํ้า ห้องออกกำลังกาย ห้องครัวกลาง ห้องซักรีด ฟิตเนส ห้องอ่านหนังสือ ฯลฯ และโรงแรม ทริปเปิ้ล วาย (Triple Y Hotel) จำนวน 102 ห้อง ตั้งแต่ชั้น 7-10 ห้องพักมีแบบห้อง Deluxe ขนาด 34 ตร.ม. จำนวน 88 ห้อง และห้อง Campus Suite 4 ชุด แต่ละชุดประกอบไปด้วยห้องเล็ก ขนาดห้องละ 17 ตร.ม. จำนวน 6 ห้อง สามารถพักได้ 6-12 คน มีห้องนั่งเล่นตรงกลาง โดยส่วนของโรงแรมแยกเป็นสัดส่วนต่างหากจากส่วนพักอาศัย พร้อมระบบรักษาความปลอดภัยด้วยคีย์การ์ดในทุกห้องพักและประตูพื้นที่ส่วนกลางทั้งหมด ทั้งฟิตเนส ห้องประชุมสำหรับผู้เข้าประชุม 35-60 คน และ Boardroom 2 ห้องๆ ละ 10 คน ที่ชั้น 11 ทั้งนี้ โรงแรมได้รับรางวัล Sustainable Travel Pledge 2022 จาก UNESCO สำหรับการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รวมถึงรางวัล Guest Review Awards 2024 คะแนน 9.1 ใน Agoda.com และคะแนน 8.8 ใน Booking.com จากคะแนนเต็ม 10.0 ส่วนอาคารชุดเปิดการขายและเริ่มจดทะเบียนสิทธิการเช่าไปเมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2562 และส่วนโรงแรมเริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่เดือนกันยายน 2562
  • พื้นที่ศูนย์การค้า: : สามย่านมิตรทาวน์เป็นศูนย์การค้า 7 ชั้น มีพื้นที่ให้เช่าประมาณ 31,000 ตารางเมตร ด้วยแนวคิด “Urban Life Library คลังอาหารและการเรียนรู้” พรั่งพร้อมไปด้วยร้านอาหารที่มีชื่อเสียงในบริเวณสามย่านเดิม และร้านค้าที่เป็นที่ต้องการในปัจจุบัน มีโซนเปิด 24 ชั่วโมงไว้สำหรับคนนอนดึก และมีพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ Co-learning space ภายใต้ชื่อ ซี อาเซียน สามย่าน โค-ออป (C asean Samyan CO-OP) ซึ่งเป็นพื้นที่อ่านหนังสือมากกว่า 500 ที่นั่ง รองรับการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ของนิสิตนักศึกษา และบุคคลทั่วไป และสวนลอยฟ้าชั้นบนสุด (Sky Garden) เปิดให้เข้าใช้บริการได้ฟรี อีกทั้งยังมีสามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ขนาดประมาณ 1,800 ตารางเมตร สำหรับจัดอีเวนท์ ประชุม สัมมนา ฯลฯ โดยได้เปิดให้บริการในเดือนกันยายน 2562


โครงการเอฟ วาย ไอ เซ็นเตอร์ (FYI Center)

โครงการเอฟ วาย ไอ เซ็นเตอร์ (FYI Center) ตั้งอยู่บนหัวมุมถนนพระราม 4 ตัดกับถนนรัชดาภิเษก (ไผ่สิงโต) ใกล้กับศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และสามารถเดินทางได้ด้วยรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) ซึ่งมีทางเข้า-ออกจากตัวสถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์อยู่ด้านหน้าอาคาร โครงการดังกล่าวเป็นอาคารสำนักงานสูง 12 ชั้น และชั้นใต้ดิน 3 ชั้น มีพื้นที่เช่าทั้งหมดประมาณ 50,000 ตารางเมตร โดยออกแบบให้มีความยืดหยุ่นในการจัดพื้นที่ใช้งาน ภายใต้คอนเซปท์ Business+Creativity ซึ่งเปิดใช้งานตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2559 โครงการนี้ได้รับการรับรองเป็นอาคารอนุรักษ์พลังงาน LEED Certificated ในระดับ GOLD จาก USGBC ในช่วงปลายปี 2559 และรางวัลโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อคุณภาพชีวิตดีเด่นประจำปี 2561 ประเภทอาคารสำนักงาน จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

นอกจากนี้ ยังมีอาคารสำนักงานที่บริษัทฯ ได้รับเป็นผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ให้กับทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลเด้นเวนเจอร์ (GVREIT) ซึ่งมีสินทรัพย์เป็นอาคาร 2 อาคาร ดังนี้

โครงการสาทร สแควร์ (Sathorn Square)

โครงการสาทร สแควร์ เป็นโครงการอาคารสำนักงานให้เช่าเกรดเอ สูง 40 ชั้นและชั้นใต้ดิน 5 ชั้น มีพื้นที่เช่ากว่า 72,000 ตารางเมตร ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจที่สำคัญหัวมุมถนนนราธิวาสราชนครินทร์ – สาทร ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างถนนสาทรและถนนนราธิวาสราชนครินทร์ สามารถเข้าถึงอาคารได้โดยตรงผ่านทางเชื่อมจากรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) สถานีช่องนนทรี โครงการสาทร สแควร์ได้รับการรับรองเป็นอาคารอนุรักษ์พลังงาน LEED Certificated ในระดับ GOLD จาก USGBC โดยมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ รวมถึงมีพื้นที่เช่าในแต่ละชั้นที่เป็นพื้นที่เปิดโล่งไม่มีเสากลางและมีฝ้าเพดานสูง ทำให้มีความยืดหยุ่นในการจัดพื้นที่สำนักงานได้หลายแบบ

โครงการปาร์คเวนเชอร์ อีโคเพล็กซ์ (Park Ventures Ecoplex)

โครงการปาร์คเวนเชอร์ อีโคเพล็กซ์ เป็นอาคารสำนักงานให้เช่าเกรดเอ ย่านใจกลางเมือง มีพื้นที่ให้เช่ากว่า 27,000 ตารางเมตร ตั้งอยู่หัวมุมถนนเพลินจิตและถนนวิทยุ เชื่อมต่อโดยตรงจากรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) สถานีเพลินจิต ได้รับการรับรองเป็นอาคารอนุรักษ์พลังงาน LEED Certificated ในระดับ Platinum จาก USGBC

โรงแรม โมเดน่า บาย เฟรเซอร์ กรุงเทพฯ (Modena by Fraser Bangkok)

โรงแรมโมเดน่า บาย เฟรเซอร์ กรุงเทพฯ สูง 14 ชั้น มีชั้นใต้ดิน 1 ชั้น และมีห้องพักจำนวนทั้งสิ้น 238 ห้อง ภายใต้การบริหารจัดการของเฟรเซอร์ส ฮอสพิทาลิตี้ (Frasers Hospitality) ผู้เข้าพักจะได้รับประสบการณ์ความสะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน ด้วยบริการอาหารที่ห้องอาหารตลอดทั้งวัน บาร์ พร้อมห้องออกกำลังกาย และห้องประชุม ซึ่งตัวอาคารตั้งอยู่ในที่ดินเดียวกันกับอาคารสำนักงานเอฟ วาย ไอ เซ็นเตอร์ ด้วยทำเลที่ตั้งของโรงแรมที่ใกล้กับศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ อาคารสำนักงาน The PARQ โรงพยาบาล MedPark ท่าเรือคลองเตย และย่านการค้าแถวสุขุมวิท สาทร สีลม และสามย่าน ที่สามารถเดินทางได้ด้วยรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) สถานีศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการจะเดินทางมาติดต่อธุรกิจ โดยโรงแรมได้รับ GREEN Health Hotel โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และ Tripadvisor Travellers’ Choice 2024 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

โครงการ โรงแรม ดับเบิ้ลยู กรุงเทพฯ (W Bangkok)

โรงแรม ดับเบิ้ลยู กรุงเทพฯ สูง 30 ชั้นและมีที่จอดรถชั้นใต้ดิน 5 ชั้น จำนวนห้องพักรวม 403 ห้อง มีห้องอาหารบริการตลอดทั้งวัน บาร์ ห้องจัดเลี้ยง ห้องประชุม สระว่ายน้ำ ห้องออกกำลังกาย และสปา รวมถึงมีอาคาร House of Sathorn ให้บริการจัดเลี้ยง ห้องอาหาร และ Afternoon Tea ในสวนตรงกลางของอาคาร โรงแรมนี้ตั้งอยู่ในที่ดินแปลงเดียวกับอาคารสาทร สแควร์ ซึ่งตั้งอยู่ในใจกลางย่านธุรกิจ และใกล้รถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) สถานีช่องนนทรี โรงแรมนี้เป็นโรงแรมหรูระดับ 5 ดาว ภายใต้การบริหารงานของเครือแมริออท ซึ่งเป็นเครือโรงแรมชั้นนำระดับโลก โดยได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย เช่น รางวัล Thailand’s Leading Luxury Hotel 2024 จาก Best Hotels and Resorts และรางวัล Green Hotel Certificate 2022-2025 Silver Level จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันบริษัทฯ ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 20 ร่วมกับบริษัทต่างชาติ

โครงการ เดอะ แอสคอท สาทร (Ascott Sathorn) และสกาย วิลล่าส์ (Sky Villas)

เดอะ แอสคอท สาทร เป็นโรงแรมแบบเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ที่ทันสมัยตั้งอยู่ใจกลางย่านธุรกิจบนถนนสาทร ติดกับรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) สถานีเซนต์หลุยส์ มีความสูง 35 ชั้น มีทั้งห้องพักแบบรายวัน และแบบพักรายเดือนจำนวน 177 ยูนิต มีห้องอาหารบริการตลอดทั้งวัน สระว่ายน้ำ สถานออกกำลังกายขนาดใหญ่ ห้องประชุม ที่จอดรถ บริหารงานโดย ดิ แอสคอท กรุ๊ป จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำในการบริการจัดการโรงแรมและที่พักอาศัยชั้นนำจากประเทศสิงคโปร์ โดยพื้นที่ชั้น 21-35 เป็นที่ตั้งของ สกาย วิลล่าส์ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยให้เช่าระยะยาวและออกแบบอย่างหรูหราโดยดีไซเนอร์ที่มีชื่อเสียง โรงแรมได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย เช่น Thailand’s Leading Serviced Apartment 2024 Award from World Travel Awards ปัจจุบันบริษัทฯ ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 60

การพัฒนานวัตกรรมธุรกิจ

  • การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ด้านการบริหารพื้นที่สำนักงาน

    บริษัทฯ มุ่งมั่นพัฒนาการให้บริการพื้นที่สำนักงาน เพื่อเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ โดยได้มีการพัฒนาแพลตฟอร์มที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า และช่วยให้บริษัทฯ สามารถบริหารพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถเข้าใจและปรับรูปแบบการให้บริการได้ตรงความต้องการของลูกค้า และยังบูรณาการข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนาด้านการขายและการตลาด เพิ่มโอกาสในการแข่งขันในฐานะผู้นำธุรกิจให้บริการโครงการเชิงพาณิชย์ของประเทศไทย เพื่อเพิ่มลูกค้ารายใหม่และรักษาลูกค้ารายเดิมได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

    Edge

    แพลตฟอร์มที่ถูกพัฒนาต่อยอดจากแพลตฟอร์มเดิม โดยได้พัฒนาร่วมกับผู้ให้บริการอุปกรณ์บริหารอาคาร อาทิ ระบบเข้า-ออกอาคาร ระบบจัดการที่จอดรถ ระบบรักษาความปลอดภัย ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไร้ที่ติ สามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้เช่าและผู้มาติดต่อ ช่วยลดขั้นตอน ประหยัดเวลา และทำให้ชีวิตง่ายขึ้นเพียงปลายนิ้ว ซึ่งมีฟีเจอร์หลัก ได้แก่ การเข้า-ออกอาคารแบบไร้สัมผัส การขอใช้บริการอาคารแบบ Paperless การเชิญผู้ติดต่อล่วงหน้าเพื่อลดขั้นตอนการแลกบัตร การตรวจสอบจำนวนรถในอาคารเพื่อวางแผนการจราจร รวมถึงข้อมูลสำคัญของร้านค้าและโปรโมชัน โดยเปิดใช้บริการที่อาคารสีลมเอจเป็นอาคารแรก และมีแผนที่จะนำไปพัฒนาในอาคารอื่นต่อไป

    T Care

    แพลตฟอร์มบริหารพื้นที่ช่วยให้การแจ้งปัญหา และแจ้งซ่อมภายในพื้นที่สำนักงานง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยการให้บริการครอบคลุมพื้นที่ส่วนกลางภายในอาคารและพื้นที่ภายในออฟฟิศ เมื่อมีการแจ้งเหตุ เจ้าหน้าที่จะได้รับการแจ้งเตือน (Notification) ผ่านทางโทรศัพท์มือถือทันที ขณะเดียวกันผู้เช่าสามารถติดตามสถานะการซ่อมผ่านทางออนไลน์ และยังสามารถประเมินความพึงพอใจหลังการซ่อมหรือการให้บริการของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยจะเชื่อมกับแอพพลิเคชั่น Edge เปิดใช้บริการที่อาคารสีลมเอจเป็นอาคารแรก และมีแผนที่จะนำไปพัฒนาในอาคารอื่นต่อไป

  • การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการในศูนย์การค้า

    บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับสุขอนามัยทั้งของลูกค้า ผู้เช่า และพนักงานที่อยู่ภายในศูนย์การค้าอย่างต่อเนื่อง โดยมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับมาตรฐานด้านความสะอาดและการให้บริการ อาทิ การจัดเตรียมเครื่องจ่ายแอลกอฮอล์อัตโนมัติบริเวณหน้าลิฟต์ และทางเข้า-ออกศูนย์การค้า พร้อมติดตั้งระบบทำความความสะอาด เครื่องฆ่าเชื้อดับกลิ่น และเครื่องพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับฝารองนั่งภายในห้องน้ำ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ใช้บริการจะได้รับการบริการที่ถูกสุขอนามัยอยู่เสมอ

    นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานภายในศูนย์การค้า เพื่อสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีการพัฒนา Solar Cart Lighting หรือรถเข็นกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์เคลื่อนที่ ซึ่งเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องฆ่าเชื้อระบบ UV และเครื่องอบโอโซน เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคและกลิ่นภายในศูนย์การค้า เทคโนโลยีดังกล่าวไม่เพียงลดต้นทุนค่าไฟฟ้า แต่ยังช่วยลดการใช้สารเคมีในการทำความสะอาดลงได้ถึง 1 ใน 4 ส่วนเมื่อเทียบกับการทำความสะอาดด้วยวิธีปกติ

    บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการนำประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) มาใช้ในการปรับปรุงการให้บริการอยู่เสมอ จึงได้นำความคิดเห็นของลูกค้าโครงการสีลมเอจมาต่อยอดพัฒนาอุปกรณ์อัลตร้าโซนิคเซ็นเซอร์ (Ultrasonic sensor) ที่มีความสามารถในการสัญญาณแจ้งเตือนผู้ขับขี่ในบริเวณทางขึ้นลานจอดรถที่มีวงเลี้ยวแคบ ซึ่งช่วยเพิ่มความปลอดภัยและลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนแก่ลูกค้าที่มาใช้บริการ

  • การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างประสบการณ์เชิงดิจิทัลในการให้บริการร้านค้าและลูกค้า

    บริษัทฯ มุ่งมั่นนำเสนอแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่หลากหลาย เพื่อสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น โครงการสามย่านมิตรทาวน์ได้พัฒนาบัญชี LINE Official Account ภายใต้ชื่อ “@Samyanmitrtown” ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เชื่อมโยงศูนย์การค้าและลูกค้าเข้าด้วยกัน โดยให้บริการช่วยเหลือและตอบทุกข้อสงสัยได้ตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลและบริการสำหรับลูกค้าได้ทุกที่ทุกเวลา

    นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้พัฒนาเว็บไซต์ ช้อปที่นี่ “Shopteenee” โดยความร่วมมือกับบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการสั่งซื้ออาหารและเครื่องดื่มจากแบรนด์ชั้นนำในศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ ครอบคลุมทั้งอาหารญี่ปุ่น อาหารไทย อาหารจีน และอาหารนานาชาติ รวมถึงเครื่องดื่มทุกประเภทจากแบรนด์พันธมิตรของเรา เว็บไซต์นี้ยังมุ่งเน้นการส่งมอบประสบการณ์การซื้อสินค้าออนไลน์ที่ง่าย ปลอดภัย และรวดเร็ว ด้วยระบบการชำระเงินออนไลน์ที่สะดวก ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าได้จากทุกที่ทุกเวลา อีกทั้งยังมีบริการเดลิเวอรี่นำส่งอาหารถึงบ้าน (Home service) และบริการสั่งซื้อออนไลน์รับสินค้า ณ จุดขาย (Self-Pick up) เพื่อตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตยุคปัจจุบัน ช่วยมอบความสะดวกสบายแก่ลูกค้า พร้อมกับข้อเสนอส่วนลดที่น่าสนใจอย่างต่อเนื่อง

    โดยได้นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาต่อยอดพัฒนาในโครงการสีลมเอจ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้

    1. ไลน์โอเอ “Line OA” ช่องทางออนไลน์ที่ใช้ติดต่อสื่อสารกับลูกค้าประกอบด้วย 2 ส่วนได้แก่
      • AI Chatbot: ระบบตอบแชทข้อความโดยอัตโนมัติ (Auto Smart Chatbot) ช่วยตอบคำถามอัตโนมัติให้กับผู้สนทนา หรือลูกค้า ตามคีย์เวิร์ดที่ถูกกำหนดไว้ได้ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง
      • Line CRM: ระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) สำหรับกิจกรรมด้านการตลาด ประกอบไปด้วย รายละเอียดโปรโมชั่นต่างๆ การให้ข้อมูลข่าวสารอัพเดท รวมไปถึงกลยุทธ์รักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า และขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นในอนาคต
    2. ทีแคร์ “T-Care” ระบบจัดการหลังบ้านที่อำนวยความสะดวกแก่ร้านค้าหรือผู้เช่าภายในศูนย์การค้าสีลมเอจ ครอบคลุมทั้งบริการแจ้งซ่อม การประกาศข้อมูลข่าวสารกับร้านค้า และแบบสำรวจความพึงพอใจของผู้เช่า เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงพัฒนาศูนย์การค้าให้ดียิ่งขึ้น

การตลาดและสภาวะการแข่งขัน

ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวม

ตลาดอาคารสำนักงานยังมีโอกาสเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องในปี 2567 เนื่องจากความอ่อนตัวทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและทั่วโลก ความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศส่งผลลบต่อการขยายธุรกิจและการลงทุนในประเทศ รวมถึงกดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก ข้อมูลจากศูนย์วิจัยของบริษัท ซีบีอาร์อี (ประเทศไทย) (“ซีบีอาร์อี”) ระบุว่า ณ ไตรมาส 2 ปี 2567 ปริมาณพื้นที่สำนักงานให้เช่าของอาคารสำนักงานที่สร้างเสร็จในกรุงเทพฯ ทั้งหมดมีประมาณ 9.74 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับปี 2566 และจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่ถูกเช่าแล้ว 7.93 ล้านตารางเมตร หรืออัตราพื้นที่ว่างมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 18.5 ของพื้นที่สำนักงานให้เช่าทั้งหมด เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับปี 2566 สำหรับอัตราค่าเช่าเฉลี่ยของสำนักงานเกรดเอในปี 2567 มีการแบ่งละเอียดขึ้น เนื่องจากอัตราค่าเช่าในกลุ่มอาคารสำนักสำนักงานเกรดเอมีความหลากหลายตามอายุอาคาร คุณภาพอาคาร และสถานที่ตั้งมากขึ้น โดยแบ่งเป็นสำนักงานเกรดเอ+ สำนักงานเกรดเอใจกลางเมือง (CBD) และสำนักงานเกรดเอ นอกกรอบกลางเมือง (non-CBD) โดยสำนักงานเกรดเอ+ อัตราค่าเช่าเพิ่มขึ้นอยู่ที่ราคา 1,150 บาทต่อตารางเมตร สำนักงานเกรดเอ ใจกลางเมืองอยู่ที่ 900 บาทต่อตารางเมตร และสำนักงานเกรดเอ นอกกรอบใจกลางเมืองอยู่ที่ 720 บาทต่อตารางเมตร ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 7.7 และร้อยละ 4 ตามลำดับ เนื่องจากหลายอาคารเลือกที่จะรักษาระดับราคาเช่าเดิมไว้เพื่อจูงใจผู้เช่ารายใหม่และเพื่อเติมเต็มพื้นที่เช่าเดิมที่ว่างลง อีกทั้งส่วนใหญ่เลือกที่จะมอบส่วนลดราคาพิเศษให้ผู้เช่ารายใหม่ที่ต้องการพื้นที่ขนาดใหญ่ และพบว่าหลายอาคารโดยเฉพาะอาคารสำนักงานเกรดบียินดีปรับราคาเช่าลง หากผู้เช่าเดิมหมดสัญญาเช่าและต้องการต่อสัญญาเช่าในอาคารเดิมเพื่อรักษาผู้เช่าไว้

จากสภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนชะลอตัวทั่วโลกในช่วงปี 2565-2567 และปริมาณพื้นที่สำนักงานให้เช่าเพิ่มขึ้นจากอาคารสร้างเสร็จใหม่ในปี 2567 นั้น ซีบีอาร์อีคาดการณ์ว่าความต้องการพื้นที่สำนักงานให้เช่ายังคงทรงตัว ปริมาณการเช่าใหม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่าปี 2566 โดยความเคลื่อนไหวส่วนใหญ่เกิดจากบริษัมผู้เช่าย้ายจากอาคารเก่าไปอาคารสร้างใหม่หรือย้ายไปอาคารที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยกว่าอาคารเดิม ทำให้อัตราค่าเช่าโดยรวมคงที่ โดยความต้องการยังคงเป็นอาคารสำนักงานในย่านศูนย์กลางธุรกิจ Central Business District (CBD) ที่อยู่ในแนวรถไฟฟ้า BTS หรือ MRT กลุ่มธุรกิจที่มีความต้องการเช่าสำนักงานเพิ่มขึ้นในปีนี้ ยังคงเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ E-commerce ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอุปโภคบริโภคที่เกี่ยวกับสุขภาพและสุขอนามัย และธุรกิจที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น คือ ธุรกิจลงทุนหรือให้บริการด้านเทคโนโลยี

ด้วยสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้บริษัทต่างๆ ต้องการลดต้นทุนพื้นที่และลดค่าใช้จ่ายประกอบการ ประกอบกับเทคโนโลยีปัจจุบันอำนวยความสะดวกให้เกิดรูปแบบการทำงานแบบใหม่ work from home หรือ work from anywhere รวมถึงการการปรับพื้นที่สำนักงานให้เหมาะสมกับการใช้งาน (right sizing) ส่งผลให้ตลาดสำนักงานชะลอตัวต่อเนื่องใน 1-2 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ ตลาดอาคารสำนักงานยังมีปัจจัยกดดันจากสำนักงานให้เช่ารูปแบบใหม่ หรือ “Co-working space” ที่มีลักษณะพื้นที่เป็นสำนักงานเต็มรูปแบบพร้อมด้วยอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็น โดยคิดค่าใช้จ่ายตามปริมาณการใช้สอย ตอบสนองความต้องการของผู้เช่าที่ไม่ต้องการลงทุนตกแต่งพื้นที่สำนักงานและต้องการความยืดหยุ่นสูง Co-working space จึงเข้ามามีส่วนแบ่งทางการตลาดของอาคารสำนักงานให้เช่าเพิ่มขึ้น อีกทั้งในระยะ 1-3 ปีข้างหน้าจะมีปริมาณพื้นที่สำนักงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีอาคารสำนักงานอยู่ระหว่างการก่อสร้าง คิดเป็นพื้นที่สำนักงานใหม่ให้เช่าอีกประมาณ 726,052 ตารางเมตร และจะทยอยสร้างเสร็จในช่วงปี 2567-2571 ข้อมูลจากซีบีอาร์อีระบุเพิ่มเติมว่า ขณะนี้มีที่ดินใจกลางเมืองหลายแปลงกำลังพัฒนาและอยู่ในขั้นตอนวางแผนก่อสร้างเป็นอาคารสำนักงานให้เช่าอีก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตลาดสำนักงานให้เช่าในอนาคต โดยในระยะยาวหากพื้นที่ให้เช่ามีมากกว่าความต้องการ อาจจะส่งผลกระทบให้อัตราพื้นที่ว่างเพิ่มขึ้นและอัตราค่าเช่าลดลง ตามลำดับ

ภาพรวมของตลาดค้าปลีกในกรุงเทพฯ ในไตรมาส 2 ปี 2567 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2567 จากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากผู้พัฒนาโครงการค้าปลีกรายใหญ่ นอกจากนี้ ผู้บริโภคมีแนวโน้มใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง และจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงส่งผลกระทบต่อกิจกรรมในตลาด จากข้อมูลของซีบีอาร์อีระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของไทยในเดือนพฤษภาคม 2567 ลดลงเป็น 58.9 ซึ่งลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สี่ และอยู่ในระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 สะท้อนความกังวลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และความไม่แน่นอนทางการเมือง

สำหรับการแข่งขันของธุรกิจค้าปลีกมีแนวโน้มรุนแรงตลอดทั้งปี จากอุปทานค้าปลีกทั้งหมดในกรุงเทพฯ ที่เพิ่มขึ้นจาก 8.2 ล้านตารางเมตรในไตรมาส 2 ปี 2566 เป็น 8.3 ล้านตารางเมตรในไตรมาส ที่ 2 ปี 2567 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ1.6 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากไตรมาสที่ผ่านมา โดยมีโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและการวางแผนโครงการอีก 62 โครงการ คิดเป็นพื้นที่รวมกว่า 1.3 ล้านตารางเมตร รวมถึงการพัฒนาศูนย์การค้าชุนชนในเขตชานเมือง ได้แก่ โครงการ The Forestias (Happitat) และโครงการ Cloud11 พื้นที่ประมาณ 38,000 และ 35,525 ตารางเมตร ตามลำดับ ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการในไตรมาส 4 ปี 2567

แนวโน้มปี 2567-2569 ธุรกิจพื้นที่ค้าปลีกให้เช่ามีแนวโน้มฟื้นตัวจากปัจจัยสนับสนุนหลายประการ ได้แก่ การฟื้นตัวของกำลังซื้อในประเทศตามการเติบโตของเศรษฐกิจ มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ การกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งได้รับแรงหนุนจากมาตรการยกเว้นวีซ่าและการขยายวันพำนักแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ การพัฒนาโครงการเมกะโปรเจ็กภาครัฐ และการเติบโตอย่างต่อเนื่องของธุรกิจออนไลน์ ทั้งการพัฒนา Omnichannel และการนำเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น AI และ Big data มาช่วยเสริมกลยุทธ์การขาย รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการค้าปลีกในจังหวัดชายแดนและจังหวัดหลักในภูมิภาค

อย่างไรก็ตาม การเติบโตด้านยอดขายของธุรกิจร้านค้าปลีกยังถูกจำกัดจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังคงถูกกดดันจากค่าครองชีพและภาระหนี้ครัวเรือนสูง การแข่งขันจากผู้ประกอบการต่างชาติ โดยเฉพาะจีน ทั้งในรูปแบบร้านค้าและแพลตฟอร์มออนไลน์ ส่งผลให้ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกส่วนใหญ่เร่งพัฒนา “Super App” หรือ “Everyday App” ที่ครอบคลุมบริการทุกอย่างเข้าไว้ด้วยกันเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภค โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบอัตโนมัติ (Automation) มาใช้เพื่อตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และด้านธรรมาภิบาล เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ โดยเฉพาะกลุ่ม Millennial ที่ให้ความสำคัญกับสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ในปี 2567 ธุรกิจโรงแรมในกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งภายหลังจากสถานการณ์โควิด-19 โดยอัตราการเข้าพักเฉลี่ยในไตรมาสแรกของปีอยู่ที่ประมาณร้อยละ 80.7 ซึ่งใกล้เคียงกับระดับก่อนเกิดโรคระบาดในปี 2562 ที่ร้อยละ 82.2 และเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 76.7 ในปี 2566 การฟื้นตัวนี้ได้รับแรงหนุนจากการจัดงาน MICE (การประชุมและนิทรรศการ) รวมถึงกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดแฟนมีตติ้งและคอนเสิร์ต ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีนที่กลับมาเป็นกลุ่มหลักอีกครั้งในปีนี้

จำนวนนักท่องเที่ยวในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2567 อยู่ที่ประมาณ 12 ล้านคน ซึ่งแม้ว่าจะต่ำกว่าระดับสูงสุดในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 ที่ 14 ล้านคน แต่ก็ยังสูงกว่าในปี 2560 ซึ่งส่งผลให้ตลาดโรงแรมโดยเฉพาะในกลุ่มโรงแรมระดับบนมีอัตราค่าห้องพักเฉลี่ยต่อวัน (ADR) เพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยคาดว่าจะยังคงเติบโตต่อไปได้ในอนาคต

ศูนย์วิจัยซีบีอาร์อีมีมุมมองเชิงบวกต่อธุรกิจโรงแรมในปี 2567 เป็นผลจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยอัตราค่าห้องพักเฉลี่ยต่อวัน (ADR) ในกรุงเทพฯ สูงกว่าจุดสูงสุดก่อนหน้าที่ร้อยละ 17 และรายได้ต่อห้องพักที่ให้บริการ (RevPAR) สูงสุดทำสถิติใหม่ ทั้งนี้ รัฐบาลไทยยังคงดำเนินนโยบายเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลดีต่อทุกกลุ่มธุรกิจโรงแรม แม้ว่าการแข่งขันจะเพิ่มสูงขึ้นจากโรงแรมเปิดใหม่ก็ตาม

กลยุทธ์ทางธุรกิจโดยรวม

เพื่อรักษาความได้เปรียบทางการแข่งขัน บริษัทฯ ใช้กลยุทธ์เร่งอัตราการเช่าในอาคารสร้างใหม่ ผสมผสานกลยุทธ์รักษาผู้เช่าด้วยการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้เช่า พัฒนาและปรับปรุงการให้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯ มีการปรับปรุงอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เช่น สุขภัณฑ์ในห้องน้ำให้เป็นระบบอัตโนมัติเพื่อสุขอนามัย และตอบโจทย์ความตระหนักเรื่องความสะอาด บริษัทฯ จัดกิจกรรมต่างๆ ให้แก่ผู้เช่าอย่างต่อเนื่อง อาทิ กิจกรรมออกร้านขายสินค้า กิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม กิจกรรมเปิดพื้นที่ให้เกษตรกรได้เข้ามาขายสินค้าส่งตรงจากฟาร์ม (Farmer Market) และกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้เรื่องความหลากหลายและมีส่วนร่วมของทุกกลุ่ม เช่น วันสตรีสากล (International Women Day) เดือนแห่งความภาคภูมิใจ (Pride Month) และกลับมาจัดกิจกรรมตามงานประเพณี เช่น ตักบาตรรับปีใหม่ สรงนํ้าพระช่วงเทศกาลสงกรานต์ กิจกรรมเพื่อความปลอดภัย เช่น การซ้อมอพยพหากเกิดเหตุอัคคีภัยประจำปี ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความบันเทิง สันทนาการ ความสะดวกสบาย เน้นยํ้าความปลอดภัยในอาคารสูง และสร้างสังคมที่น่าอยู่ในอาคาร จากการสำรวจความพึงพอใจการบริการในปี 2567 ความพึงพอใจเฉลี่ยทุกอาคารมากกว่าร้อยละ 81 ซึ่งเป็นส่วนช่วยสะท้อนผลการดำเนินงานของอาคารทั้งของบริษัทฯ และอาคารที่บริษัทฯ เป็นผู้บริหารอาคาร ให้รักษาระดับอัตราการเช่าเกินร้อยละ 90 และอัตราค่าเช่าได้สูงเป็นอันดับต้นๆ ในอาคารระดับเดียวกัน

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงการ การออกแบบ และการอนุรักษ์พลังงานทั้ง 4 อาคาร ได้แก่ อาคาร ปาร์คเวนเชอร์ อีโคเพล็กซ์ อาคารสาทร สแควร์ อาคารเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ และอาคารมิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ ได้รับการรับรองเป็นอาคารที่ก่อสร้างให้ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล LEED (Leadership in Energy and Environment Design) ของ USGBC ระดับ Gold และอาคารปาร์คเวนเชอร์ อีโคเพล็กซ์ ระดับ Platinum นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้รับรางวัลในด้านการออกแบบและพัฒนาโครงการในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (Asia Pacific Property Awards Development) โดย International Property Awards (IPA) ประเภท Mixed Use Development โดยตัดสินจากการออกแบบสถาปัตยกรรมทั้งภายนอกและภายใน ภูมิสถาปัตย์ รวมถึงเทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัย ความปลอดภัย และการคำนึงถึงการอยู่อาศัยที่ยั่งยืน เป็นอีกหนึ่งความตั้งใจที่สะท้อนความมุ่งมั่นพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพ เพื่อส่งมอบความสุขให้กับลูกค้า และตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์อย่างแท้จริง สำหรับอาคารปาร์คเวนเชอร์ อีโคเพล็กซ์ และอาคารสาทร สแควร์ ยังได้รับรางวัล Thailand Energy Awards และ ASEAN Energy Awards เมื่อปลายปี 2560 ขณะที่อาคารเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ได้รับรางวัล 4 รางวัล ได้แก่ รางวัล Best Office Development และ Best Green Development จาก Thailand Property Awards 2017 รางวัลด้านอนุรักษ์พลังงาน ประเภทอาคาร – อาคารสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (อาคารใหม่) จากโครงการ Thailand Energy Awards 2018 เมื่อเดือนสิงหาคม 2561 และรางวัลโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อคุณภาพชีวิตดีเด่น ประจำปี 2561 ประเภทอาคารสำนักงาน จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ อีกทั้งโครงการสามย่านมิตรทาวน์ ได้รับรางวัลด้านอนุรักษ์พลังงาน ประเภทอาคารสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (อาคารใหม่) จากโครงการ Thailand Energy Awards 2021 เมื่อเดือนสิงหาคม 2564 รางวัล ASEAN Energy Awards 2021 เมื่อเดือนกันยายน 2564 และรางวัล MEA Energy Awards 2022 เมื่อเดือนมิถุนายน 2565 และล่าสุดในปี 2566 นี้ อาคารปาร์คเวนเชอร์ อีโคเพล็กซ์ อาคารสาทร สแควร์ อาคารเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ อาคารมิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ และอาคารสีลมเอจ ได้รับการรับรองเป็นอาคารที่ได้มาตรฐานด้านการเชื่อมต่อทางดิจิทัลจาก WiredScore โดยอาคารเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ และอาคารมิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ และอาคารสีลมเอจได้รับในระดับ Gold ในขณะที่อาคารปาร์คเวนเชอร์ อีโคเพล็กซ์และอาคารสาทร สแควร์ ได้รับในระดับ Platinum

สำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของการเช่าพื้นที่สำนักงาน มีทั้งกลุ่มบริษัทในประเทศและบริษัทต่างชาติชั้นนำประมาณ 500 ราย โดยผู้เช่าต้องการสร้างภาพลักษณ์ทางการตลาดขององค์กรบนทำเลใจกลางเมือง สถานที่ตั้งใกล้ระบบขนส่งสาธารณะหรือเชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสหรือเอ็มอาร์ทีที่ลูกค้าและพนักงานของผู้เช่าสามารถเข้าถึงอาคารสำนักงานได้โดยสะดวก การเป็นอาคารประหยัดพลังงานส่งเสริมการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อการทำงานของพนักงาน ซึ่งช่วยให้พนักงานรักองค์กรและภูมิใจต่อความใส่ใจที่องค์กรมีต่อพนักงาน นอกจากนี้ ผู้เช่ามักจะเลือกพื้นที่เช่าที่มีความยืดหยุ่นในการจัดสำนักงานได้หลากหลายรูปแบบ สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ขององค์กรผู้เช่าได้ ซึ่งอาคารต่างๆ ภายใต้การดูแลของบริษัทฯ สามารถรองรับผู้เช่าบริษัทขนาดเล็กจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ และตอบสนองต่อความต้องการทั้งหมดของลูกค้าได้

ด้านกลยุทธ์ในการปล่อยเช่าพื้นที่ บริษัทฯ ดำเนินการผ่าน Agency ชั้นนำซึ่งเป็นธุรกรรมปกติของการเช่าอาคารสำนักงานที่ลูกค้ามักจะติดต่อผ่าน Agency ดังนั้น บริษัทฯ จะประสานงานกับ Agency อย่างใกล้ชิด คัดสรรและตรวจสอบประวัติลูกค้า ประเภทธุรกิจของลูกค้า พร้อมให้ข้อมูลที่ลูกค้าต้องการ และเสนอราคาค่าเช่าที่เหมาะสม รวมถึงติดตามผลจนถึงที่สุด นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการทำกิจกรรมลูกค้าสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง และรักษาระดับการให้บริการ กระบวนการจัดการอาคารอย่างมีมาตรฐาน มีระบบรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด มีการตรวจสอบงานระบบและบำรุงรักษาอยู่สมํ่าเสมอ อีกทั้งยังมีช่องทางสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ กับผู้เช่าผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียอย่างต่อเนื่องเพื่อตอกยํ้า แบรนด์ของอาคารสำนักงาน

ในปี 2567 โครงการศูนย์การค้ามุ่งเน้นกลยุทธ์หลัก 3 ด้าน ได้แก่

  1. กลยุทธ์การเพิ่มรายได้ (Income Amplification) เน้นการปรับเพิ่มอัตราค่าเช่าให้มีความเหมาะสมกับประเภทร้านค้าและราคาตลาด การเพิ่มค่าบริการพื้นที่ส่วนกลางให้สอดคล้องกับการใช้งานจริง การปรับเพิ่มรายได้จากกิจกรรมทางการตลาด การเพิ่มสัดส่วนร้านค้าที่ไม่ใช่ร้านอาหารให้มากขึ้น การเพิ่มการเติบโตของค่าเช่าประเภทสัดส่วนจากยอดขาย รวมถึงการปรับสัดส่วนร้านค้าประเภทสัดส่วนจากยอดขายและประเภทค่าเช่าคงที่ให้มีความสมดุลมากยิ่งขึ้น
  2. กลยุทธ์ร่วมสร้างสรรค์ (Co-Creation) ทั้งการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนรอบข้าง การสร้างการเติบโตไปพร้อมกับพันธมิตรทางธุรกิจ โดยการสร้างโปรโมชั่นที่ทำให้เกิดรายได้ค่าเช่าจากร้านค้าเพิ่มขึ้น การขยายพื้นที่ดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการ และการจัดกิจกรรมทางการตลาดที่ตรงกับพฤติกรรมและความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย
  3. กลยุทธ์ด้านนวัตกรรมการบริการ (Real Estate as a Service) เพื่อยกระดับประสบการณ์ลูกค้าและผู้เช่า โดยการออกแบบพื้นที่เช่าให้มีการตกแต่งแล้วบางส่วน เพื่อลดการลงทุนและเวลาในการตัดสินใจของผู้เช่า อีกทั้งการนำเครื่องมือดิจิทัลและระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ผู้เช่า และสร้างประสบการณ์ที่เหนือความคาดหมายแก่ผู้มาใช้บริการ

ในปี 2568 บริษัทฯ มุ่งเน้นกลยุทธ์ที่เป็นระบบเพื่อสร้างการเติบโตของธุรกิจโรงแรมอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการเพิ่มอัตราค่าห้องพักเฉลี่ยรายวันควบคู่กับการรักษาอัตราการเข้าพักที่สูง สำหรับเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายที่จะรักษาสัดส่วนกลุ่มลูกค้าพักระยะยาวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม พร้อมทั้งเสริมด้วยกลุ่มลูกค้าพักระยะสั้นที่มีอัตราค่าห้องพักรายวันสูง เพื่อเพิ่มรายได้และความหลากหลายของกลุ่มลูกค้า

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมุ่งขยายฐานลูกค้าใหม่สำหรับโรงแรมที่รองรับธุรกิจ MICE โดยจะพัฒนาบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกให้ตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า อีกทั้งบริษัทฯ มีแผนขยายไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่จากประเทศอินเดียและกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและสร้างความหลากหลายของกลุ่มลูกค้า การให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าสาธารณะผ่านช่องทาง Online Travel Agency จะช่วยเพิ่มอัตราค่าห้องพักรายวันและสร้างการรับรู้ในวงกว้าง เพื่อสร้างความมั่นคงและเสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ธุรกิจโรงแรมอย่างยั่งยืน

การจัดหาผลิตภัณฑ์หรือบริการ
  • ที่ดิน

    ที่ดินที่เหมาะสมต่อการพัฒนาโครงการเชิงพาณิชยกรรม ควรเป็นทำเลที่ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจ มีการคมนาคมที่สะดวกสบาย หากอยู่ในแนวรถไฟฟ้าจะเป็นปัจจัยหนุนต่อโครงการยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การจัดหาที่ดินในทำเลดังกล่าวมีความท้าทายมากขึ้นเนื่องจากข้อจำกัดของพื้นที่ และราคาที่ดินที่ปรับตัวสูงขึ้นทุกปี นอกจากนี้เงื่อนไขของกรรมสิทธิ์ของที่ดินในบริเวณดังกล่าวมักจะเป็นการขายสิทธิ์การเช่าระยะยาวแทนที่จะขายโอนกรรมสิทธิ์ขาด ดังนั้น ในการจัดหาที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการจึงต้องรอให้ที่ดินผืนนั้นๆ หมดภาระผูกพันตามสัญญาเดิมหรือปลอดจากภาระใดๆ เสียก่อน

    อย่างไรก็ตาม จากการที่บริษัทฯ มีทั้งประสบการณ์และความพร้อมในการพัฒนาโครงการในรูปแบบที่หลากหลายทั้งอาคารสำนักงาน โรงแรม เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ และศูนย์การค้า อีกทั้งบริษัทฯ มีประสบการณ์ในการเช่าและพัฒนาที่ดินกับเจ้าของที่ดินรายใหญ่มาอย่างยาวนานและได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ในสัญญาเช่าด้วยดีมาโดยตลอด จนมีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับโดยทั่วไป เหล่านี้ส่งผลให้บริษัทฯ ได้มีโอกาสในการพัฒนาที่ดินแปลงที่มีศักยภาพ เช่น ที่ดินโครงการ เอฟ วาย ไอ เซ็นเตอร์ ที่ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกคลองเตยถนนรัชดาภิเษกตัดกับถนนพระราม 4 และโครงการสามย่านมิตรทาวน์ ที่ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกสามย่านถนนพระราม 4 ตัดกับถนนพญาไท เป็นต้น

    ในการเช่าที่ดินนั้นบริษัทฯ จะทำสัญญาการเช่าที่ดินโดยทั่วไปเป็นเวลา 30 ปี และ/หรืออาจมีเงื่อนไขในการเช่าต่ออีก 30 ปี การพัฒนาโครงการจึงต้องเน้นพัฒนาในที่มีศักยภาพสูงและการคมนาคมสะดวก การจัดหาที่ดินในแต่ละครั้งนั้น ฝ่ายบริหารจะเป็นผู้เข้าไปดูพื้นที่ด้วยตนเอง โดยมีการศึกษาข้อดีข้อเสีย ข้อมูลด้านกฎหมายและผังเมืองและข้อมูลทางการตลาดอย่างละเอียด ก่อนนำเสนอให้คณะกรรมการบริหารพิจารณาอนุมัติการซื้อหรือเช่าที่ดินในแต่ละแปลง

  • วัสดุก่อสร้าง

    ปัจจุบันผู้รับเหมาที่บริษัทฯ ว่าจ้างเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาวัสดุสำหรับการก่อสร้าง บริษัทฯ ได้ระบุรายละเอียดราคาของวัสดุก่อสร้างไว้ในสัญญาจ้าง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้บริษัทฯ ได้รับผลกระทบจากราคาวัสดุก่อสร้างที่อาจเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงปัญหาที่เกิดจากวัสดุก่อสร้างขาดแคลนในระหว่างก่อสร้าง อีกทั้งการจ้างเหมาจะทำการคัดเลือกผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญ และผลงานที่ผ่านมาเป็นที่ยอมรับ เพื่อสามารถส่งมอบงานที่มีคุณภาพได้ตามกำหนดการตามสัญญา

  • การพัฒนาโครงการ

    Tบริษัทฯ จะเปิดประมูลราคาในส่วนของงานผู้รับเหมาโครงการ โดยผู้ที่ชนะการประมูลจึงจะทำสัญญาการก่อสร้างแบบทั้งโครงการและมีการรับประกันราคา โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

    สำหรับอาคารขนาดใหญ่หรืออาคารสูง บริษัทฯ ได้มีการออกแบบพัฒนาระบบสาธารณูปโภคที่เหมาะสมในทุกๆ โครงการ เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยได้วางระบบบำบัดนํ้าเสียรวมสำหรับส่วนใช้สอยทั้งหมด รวมถึงจัดให้มีการตรวจสอบคุณภาพนํ้าทิ้งตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดก่อนที่จะระบายลงสู่ทางนํ้าสาธารณะต่อไป เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี บริษัทฯ คำนึงถึงการเพิ่มต้นไม้หรือพื้นที่สีเขียวของโครงการให้มากกว่าที่กฎหมายกำหนดเสมอ

    นอกเหนือจากนั้น บริษัทฯ ยังว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อเตรียมการดังกล่าว รวมถึงการขออนุญาตขอความเห็นชอบในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก่อนเริ่มขออนุญาตก่อสร้างอาคาร และดำเนินมาตราการต่างๆ ตามที่ระบุในรายงานฯ เพื่อลดผลกระทบจากงานก่อสร้างต่อชุมชนโดยรอบโครงการ

    อีกทั้ง บริษัทฯ ยังออกแบบและก่อสร้างอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานโดยเป็นไปตามมาตรฐานสากล “LEED (Leadership in Energy and Environment Design) Certificated” กับ USGBC เช่น โครงการอาคารสำนักงานสาทร สแควร์ โครงการอาคารสำนักงานเอฟ วาย ไอ เซ็นเตอร์ และอาคารสำนักงานมิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ ในโครงการสามย่านมิตรทาวน์ ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ของอาคารที่เน้นการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม เช่น มีระบบระบายอากาศ ควบคุมระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การหมุนเวียนของระบบทำความเย็นโดยใช้ระบบนํ้าเย็น (ไม่มีสารเคมี) และระบบแสงสว่างในพื้นที่อาคารจะใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดประหยัดไฟ T5 (T5 Fluorescent Lamp) หรือ หลอด LED เพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น

ติดต่อตัวแทนของเรา